ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก ตามกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณรไทย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร ตามกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: สามเณร 104 รูป ณ โรงเรียน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ณัฐมา ทองธีรธรรม, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์, ยุทธพิชัย โพธิ์ศรี, อรพรรณ โตสิงห์, ธิมาภรณ์ ซื่อตรง, จุฑารัตน์ ฉันท์เรืองวณิชย์, Natma Thongteratham, Wallada Chanruangvanich, Suchada Pattramongkolrit, Yoothapichai Phosri, Orapan Tosingha, Thimaporn Suetrong, Jutharath Chanruangvanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64418
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร ตามกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: สามเณร 104 รูป ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาแห่งหนึ่ง ได้รับเลือกเป็นตัวอย่างในการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้งคือ ก่อนรับโปรแกรม หลังรับโปรแกรมทันที และหลังรับโปรแกรมหนึ่งเดือน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก แบบประเมินทัศนคติการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบประเมินทักษะปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปาก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัย: เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมทันทีพบว่า ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของสามเณรลดลง (t = 32.03, p < .001) แต่ทัศนคติและทักษะปฏิบัติดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -96.92, p < .001; t = -2.64, p = .010 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมหนึ่งเดือน ความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้น (t = -56.37, p < .001; t = -121.42, p < .001 ตามลำดับ) ส่วนทักษะปฏิบัติลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (t = 2.55, p = .013) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสนับสนุนประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากตามกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบางส่วน โดยภายหลังการได้รับโปรแกรมหนึ่งเดือน สามเณรมีความรู้และทัศนคติดีขึ้น ยกเว้นเรื่องทักษะปฏิบัติ จึงควรปรับปรุงโปรแกรมโดยอาจเพิ่มจำนวนวันดำเนินการและกิจกรรมที่น่าสนใจ รวมถึงมีระบบพี่เลี้ยงหรือการกระตุ้นเตือน เป็นต้น และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยใช้กรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มเปราะบางอื่นๆ เช่น เด็กนอกโรงเรียน แรงงาน ผู้อพยพ หรือผู้สูงอายุ