ปัญหาวันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงจากการใช้อำนาจทางปกครอง

การปกครองดูแลบุคลากรของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญคือ วินัย หากบุคลากรผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ยึดถือปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถูกลงโทษอันเป็นผลร้ายแก่ตัวบุคลากรผู้นั้นเอง ซึ่งการลงโทษจะต้องทำเป็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคำส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์, อาริยารักษ์ จันทะเขต
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64556
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การปกครองดูแลบุคลากรของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญคือ วินัย หากบุคลากรผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ยึดถือปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถูกลงโทษอันเป็นผลร้ายแก่ตัวบุคลากรผู้นั้นเอง ซึ่งการลงโทษจะต้องทำเป็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคำสั่งลงโทษมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม คำสั่งลงโทษทางวินัยจะต้องมีผลทางกฎหมายที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งลงโทษที่เป็นการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หากมีความไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อกฎหมายก็อาจถูกยกเลิกเพิกถอนในภายหลังได้ จากการศึกษาพบว่า วันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงควรที่จะต้องเป็นวันที่บุคลากรผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้รับทราบคำสั่งลงโทษนั้น ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และวันที่ประสงค์ที่จะให้มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็จะต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายปกครอง