เครือข่ายทางสังคมกับกระบวนพัฒนาชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเข้มแข็งของชมรมออกกำลังกายในพื้นที่ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน และเพื่ออธิบายกระบวนการพัฒนาชมรมออกกำลังกาย ผลของการ พัฒนาที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่าย ทางสังคม รวมทั้งอธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมาชิกชมรม และชุมชน อันเนื่องจากการดำเนินงานของชมรมออกก...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64769 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเข้มแข็งของชมรมออกกำลังกายในพื้นที่
อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน และเพื่ออธิบายกระบวนการพัฒนาชมรมออกกำลังกาย ผลของการ
พัฒนาที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่าย ทางสังคม รวมทั้งอธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมาชิกชมรม
และชุมชน อันเนื่องจากการดำเนินงานของชมรมออกกำลังกาย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพใน
การศึกษาเก็บข้อมูลจากชมรมออกกำลังกายจำนวน 6 แห่งในพื้นที่วิจัย ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก
การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า แหล่งข้อมูลหลักที่
ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่ม องค์กรที่เป็นเครือข่ายผู้สนับสนุนการ
ดำเนินงานของชมรม ออกกำลังกาย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามคำถามการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชมรมออกกำลังกายในพื้นที่วจิ ัย 4 ใน 6 แห่งมีความเข้มแข็ง แต่เป็นความเข้มแข็งที่ไม่มี
หลักประกันความมั่นคงหรือยั่งยืนมากนัก เพราะเกิดจากการมีผู้นำเต้นหรือสมาชิกที่ติดการ
ออกกำลังกายเพียงไม่กี่คน แต่ไม่ได้เกิดจากการบริหารจัดการของเครือข่าย แกนนำชมรมและ
คณะกรรมการ
2. มีปัจจัยและเงื่อนไข 5 ด้านที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาของชมรม คือการขาดความ
ทุ่มเทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมกระบวนการ
พัฒนาชมรม การมุ่งเน้นความสำเร็จในเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ การเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่
ที่รับผิดชอบการดำเนินงานของชมรมออกกำลังกาย และการที่เจ้าหน้าที่เป็นแกนนำในการบริหาร
จัดการทั้งหมด
3. กระบวนการพัฒนาชมรมออกกำลังกายได้รับแรงผลักดัน การสนับสนุนและการ
ควบคุมกำกับอย่างจริงจังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฉพาะในช่วงการรณรงค์ของรัฐบาลเท่านั้น
ทำให้มีผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงานของชมรมออกกำลังกายที่จัดตั้งขึ้น 4. การดำเนินงานของชมรมทำให้เกิดผลดีขึ้นกับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม 5 ด้าน คือด้าน
ร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความรู้ทางด้านสุขภาพ และด้านทักษะในการ
ออกกำลังกาย และมีผลกระทบต่อชุมชนเพียง 2 ด้าน คือการสร้างบรรทัดฐานด้านการออกกำลังกาย
ให้กับชุมชน และการเสนอทางเลือกด้านการออกกำลังกายให้กับประชาชน
5. เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของชมรมออกกำลังกายมี 2 ประเภท คือ 1) เครือข่าย
ผู้สนับสนุน ซึ่งหมายถึงบุคคล กลุ่ม องค์กร ซึ่งได้ให้การสนับสนุนใน 7 รูปแบบ คือการสนับสนุนด้าน
งบประมาณ ด้านองค์ความรู้และทักษะการเต้น ด้านการจัดตั้งชมรม ด้านการสั่งการ ด้านการ
ประสานงาน ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม และการสนับสนุนด้านขวัญกำลังใจ และ 2) เครือข่ายผู้ร่วม
ปฏิบัติการ หมายถึง เครือข่ายภายในระหว่างชมรมออกกำลังกายด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์อย่าง
หลวมๆ และมักแปรไปตามแนวทางการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งเป็นเครือข่าย
ผู้สนับสนุนที่สำคัญ
ข้อเสนอแนะที่เรียนรู้จากผลการวิจัย ได้เสนอให้เน้นการปรับแนวคิดและกระบวนทัศน์
ในการพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชมรมออกกำลังกาย ด้วยการสร้างแกนนำที่เข้มแข็งและมีระบบ
บริหารจัดการของชมรมที่มีประสิทธิภาพ และเน้นการให้เครือข่ายผู้ร่วมปฏิบัติการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานและการพัฒนาชมรมออกกำลังกาย |
---|