ปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการนําองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยมาให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดฉะเชิงเทรา
การวิจัยนี้เป็นการสํารวจแบบภาคตัดขวางศึกษาพฤติกรรมการนําองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยมาให้บริการสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขปฐมภูมิ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสํารวจและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการนําองค์ความรู้ฯมาใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขปฐมภูมิ จํานวน 198 คนใช้แบบสอ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64811 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยนี้เป็นการสํารวจแบบภาคตัดขวางศึกษาพฤติกรรมการนําองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยมาให้บริการสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขปฐมภูมิ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสํารวจและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการนําองค์ความรู้ฯมาใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขปฐมภูมิ จํานวน 198 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้รับแบบสอบถามคืน ร้อยละ 96 จาก 11 อําเภอ หน่วยบริการ 118 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ และ Binary Logistic Regression ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ปัจจัยการรับรู้ คือ การรับรู้ประโยชน์ของการแพทย์แผนไทย 2) ปัจจัยการยอมรับคือ การยอมรับแนวคิดของการแพทย์แผนไทย 3) ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุในช่วง 20-29 ปี ตําแหน่งงาน การเคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อน สรุปได้ว่า การทําให้บุคลากรสาธารณสุขปฐมภูมิมีพฤติกรรมการนําองค์ความรู้ฯมาใช้มากขึ้น ควรจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ที่การกระจายในทุกตําแหน่งงาน เลือกในช่วงอายุ 20- 29 ปี เป็นลําดับแรก โดยควรวางพื้นฐานวิธีคิดตามองค์ความรู้ฯ อย่างเป็นเหตุเป็นผล นําเสนอประโยชน์ในเชิงลึกมากขึ้น สร้างแนวทางการใช้ยาสมุนไพรทดแทน ฯ โดยแบ่งกลุ่มตามรสยา |
---|