ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทย

การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พัชราภรณ์ นนทสวัสดิ์ศรี, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, ณัฐนารี เอมยงค์, Patcharaphon Nonthasawadsri, Chardsumon Pritpinyo, Natnaree Aimyong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64812
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยโดยการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างศัลยแพทย์ในสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย จํานวน 160 คน ส่งแบบสอบถามออนไลน์ ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินโดยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การประเมินความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์การยอมรับ ความครอบคลุม ความพร้อม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Logistic regression มีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ศัลยแพทย์ประเมินการยอมรับระดับสูง (ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย 93.19) ความครอบคลุม ระดับต่ำ (ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย 44.00) ความพร้อมระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 37.50, S.D.0.51) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 18.86, S.D.0.60) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 18.81, S.D.0.52). ผลการวิเคราะห์ Logistic Regression พบว่า ปัจจัยการยอมรับ ความครอบคลุม ความพร้อม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยได้ ร้อยละ 83.7 ผู้กําหนดนโยบายสามารถใช้ผลการศึกษาวิจัยเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยและสามารถศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค