ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุุขภาพ และพฤติกรรมสุุขภาพของผู้สููงอายุุที่มีโรคไตเรื้อรัง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์iะหว่างความรู้ความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง โดยใช้แนวคิดความรอบรู้ด้าน สุขภาพของนัทบีม เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ยัง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชญาภา วรพิทยาภรณ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นพวรรณ พินิจขจรเดช, Chayabha Vorrapittayaporn, Porntip Malathum, Noppawan Phinitkhajorndech
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72020
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์iะหว่างความรู้ความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง โดยใช้แนวคิดความรอบรู้ด้าน สุขภาพของนัทบีม เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และมารับการตรวจตาม นัดที่คลินิกโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุุงเทพมหานครจำนวน 98 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับ โรคไตเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง เก็บ รวบรวมข้อมูล ระหว่่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมพ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรค ไตเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคะแนนพฤติกรรมสุขภาพทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับสูงและจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความ สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง ไม่มีความสัมพัันธ์์กัับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพจึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพใน การเลือกใช้ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้มีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม