ผลของการบริหารเท้าและข้อเท้าต่อความเร็วในการไหลกลับของเลือดดำบริเวณข้อพับสะโพกในผู้ป่วยกระดููกสะโพกหัก

การวิจัยในครั้งนี้เปนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดซ้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความเร็วในการไหลกลับของเลือดดำบริเวณข้อพับสะโพกข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักก่อนและหลัง บริหารเท้าและข้อเท้าในแต่ละช่วงเวลา และ 2) เส้นรอบวงต้นขาและน่องของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่่ ปฏิบัติตามโปรแกรมการบริหาร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อาภาพร เปลื้องกลาง, สุุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, ปพน สง่าสููงส่ง, สุุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ์, ชินรัตน์ บัวงาม, Arphaporn Plueangklang, Suchira Chaiviboontham, Paphon Sa-ngasoongsong, Suphaneewan Jaovisidha, Chinnarat Buangam
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72021
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยในครั้งนี้เปนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดซ้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความเร็วในการไหลกลับของเลือดดำบริเวณข้อพับสะโพกข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักก่อนและหลัง บริหารเท้าและข้อเท้าในแต่ละช่วงเวลา และ 2) เส้นรอบวงต้นขาและน่องของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่่ ปฏิบัติตามโปรแกรมการบริหารเท้าและข้อเท้าระหว่างช่วงเวลา โดยใช้กรอบแนวคิดทางสรีรวิทยาการเกิด ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 24 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้้ สถิิติิบรรยาย สถิติ Friedman test, Wilcoxon Signed-Rank Test, และ One-way repeated measures ANOVA ผลการศึกษาพบว่่า กลุ่มตััวอย่่างทั้งหมดสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมการบริหารเท้าและข้อเท้า ที่่กำหนดไว้ได้ความเร็วสูงสุุดและความเร็วเฉลี่ยของการไหลเวียนกลับของเลือดดำบริเวณข้อพับสะโพก ข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักหลังได้รับโปรแกรมทันที่ดีขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและยังคงอยู่จนถึง ณ 5 นาที และ 15 นาที หลังได้รับโปรแกรม เส้นรอบวงน่องไม่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล ผลของ การวิจัยในครั้งนี้แสดงว่าโปรแกรมการบริหารเท้าและข้อเท้าสามารถนำไปใช้เพื่อช่่วยเพิ่มการไหลกลับ ของเลือดดำบริเวณข้อพับสะโพกในผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหักนำไปสู่การป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือด ดำลึกอุดกั้นได้