การบริหารคนเก่ง: การประเมินความสำเร็จและความพึงพอใจ โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลสำเร็จและสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ “การบริหารคนเก่ง (Talent Management)” ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระหว่างปี พ.ศ 2556 - 2560 สำหรับบุคลากรสายวิชาการรุ่นใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน 5 ปี โดยการสนับสนุนเงินพิเศษรายเดือน และทุนทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง งานทรัพ...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72026 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลสำเร็จและสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ “การบริหารคนเก่ง (Talent Management)” ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระหว่างปี พ.ศ 2556 - 2560 สำหรับบุคลากรสายวิชาการรุ่นใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน 5 ปี โดยการสนับสนุนเงินพิเศษรายเดือน และทุนทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง งานทรัพยากรบุคคลของคณะฯ มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าประสงค์โครงการ ทุก 3 เดือน และประเมินความพึงพอใจโดยแบบสอบถามเมื่อจบโครงการ 4 ปี ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์/นักวิจัยผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการครบทั้ง 20 ราย อายุเฉลี่ย (mean + SD) 36.5 + 3.3 ปี เป็นชาย 6 คน หญิง 14 คน ประกอบด้วยบุคลากรใหม่ 6 ราย (อายุงานน้อยกว่า 1 ปี) และบุคลากรเดิม 14 ราย (อายุงาน 1-5 ปี) หลังเข้าร่วมโครงการทุกรายมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น โดย18 ราย (ร้อยละ 90) ตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์หลัก รวมมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น 23 เรื่อง (ค่ามัธยฐาน 7.50; 2.00 – 23.0 เรื่อง) ด้านทุนวิจัย 19 ราย (ร้อยละ 95) มีทุนวิจัยในฐานะผู้วิจัยหลัก รวมมีทุนโครงการวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 27 โครงการ การเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. 03 หรือ ม.ม. 01) พบว่าทุกรายเสนอตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ รวมเฉลี่ยคือ 29.10 + 10.92 เดือน และ 18 ราย (ร้อยละ 90) ได้รับผลการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแล้ว การเปรียบเทียบระหว่างบุคลากรใหม่และบุคลากรเดิมไม่พบความแตกต่างของจำนวนผลงานตีพิมพ์ (p > 0.42) แต่กลุ่มบุคลากรเดิมส่งตีพิมพ์ได้เร็วกว่า (26.07 + 11.03 เดือน เปรียบเทียบกับ 36.17 + 6.49 เดือน, p = 0.03) การประเมินความพึงพอใจ (0-5 คะแนน) ทั้งหมด 10 ประเด็น ได้คะแนนรวม ที่ระดับปานกลางถึงดีมาก คือ 3.84 + 1.01 คะแนน โดยประเด็นการให้บริการของงานทรัพยากรบุคคล ได้คะแนนสูงสุด (4.35 + 0.59) บุคลากรทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจเหมือนกันต่อทั้ง 10 ประเด็นคำถาม (p > 0.06) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า โครงการ “การบริหารคนเก่ง” เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้บุคลากร สายวิชาการรุ่นเยาว์มีความก้าวหน้าทางวิชาการตามระยะเวลาที่เหมาะสม และมีความพึงพอใจต่อโครงการ งานวิจัยนี้ได้ข้อเสนอแนะคือ (1) การบริหารคนเก่ง สามารถเป็นโครงการระยะสั้นแต่ควรให้การสนับสนุนแบบครบวงจร (2) ควรมีการติดตามวัดผลความสำเร็จระหว่างโครงการ (3) งานทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะสนับสนุนด้านการบริการโครงการ (4) การสำรวจความพึงพอใจที่กระชับและตรงประเด็นจะได้ความร่วมมือที่ดี (5) บุคลากรรุ่นเยาว์มีความเหมาะสมที่จะเข้าโครงการ “คนเก่ง” เพื่อการพัฒนา และ (6) องค์กรควรมีการวางแผนระยะยาวเพื่อหาแหล่งทุน “การบริหารคนเก่ง” สำหรับบุคลากรรุ่นใหม่ทุกรุ่น |
---|