การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาต่างสาขาวิชา

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาต่างสาขาวิชา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและกา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: อรวี บุนนาค
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72039
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาต่างสาขาวิชา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รวม 30 คน ผลการวิจัยลักษณะของการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้รูปเขียนแปรที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภาคิดเป็นร้อยละ 31.13 และใช้รูปเขียนแปรที่ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 68.87 ลักษณะของการแปรรูปเขียนแปรคำทับศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง มี 3 ลักษณะ ได้แก่ การเพิ่มรูป การลดรูปและการเปลี่ยนรูป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในหน่วยต่าง ๆ ของโครงสร้างพยางค์ ได้แก่ รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวการันต์ หรือเกิดกับเครื่องหมาย ได้แก่ ไม้ไต่คู้ ทัณฑฆาต ยัติภังค์ และการเว้นวรรคตอน นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าคำทับศัพท์ 1 คำสามารถปรากฏเป็นรูปเขียนแปรได้มากที่สุดถึง 23 รูปแปร สาเหตุของการใช้รูปเขียนคำทับศัพท์พบว่ามีสาเหตุสำคัญสองประการ ได้แก่ การใช้หลักการเขียนตามการออกเสียงคำทับศัพท์ของตนเองและการใช้ตามสื่อมวลชน ส่วนผลการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์ได้ถูกต้องตรงตามราชบัณฑิตยสภาน้อยที่สุด นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบการแปรรูปเขียนคำทับศัพท์ของนักศึกษาต่างสาขาวิชาด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาต่างกันเลือกใช้รูปเขียนแปรคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ