ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้ป่วยสูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการรับรส ความเครียด แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยสูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 80 ราย ที่มีคุ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รุ่งนภา คงภักดี, มุุกดา เดชประพนธ์, สุุปรีดา มั่่นคง, Rungnapa Kongpakdee, Mukda Detprapon, Supreeda Monkong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72063
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการรับรส ความเครียด แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยสูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 80 ราย ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วย แบบสอบถามจำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการเปลี่ยนแปลงการรับรส แบบประเมินความเครียด แบบวัดการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะโภชนาการ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนเมษายน 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.50 เสี่ยงต่อการภาวะทุพโภชนาการ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.25 มีภาวะทุพโภชนาการโดยกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงการรับรสในระดับเล็กน้อยถึงระดับมาก กลุ่มตัวอย่างใหญ่มีความเครียดในระดับน้อย แต่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง การเปลี่ยนแปลงการรับรส และความเครียด มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น พยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญในการประเมินภาวะโภชนาการรวมทั้งวิธีจัดการความเครียด และการเปลี่ยนแปลงการรับรส อย่างต่อเนื่อง