การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลและผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียมจำนวน กลุ่มละ 30 รายที่่ปฏิบัติงานและพักรักษาในหอผู้ป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มณีวรรณ โฮมแพน, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, นิโรบล กนกสุุนทรรัตน์, Maneewan Homepan, Suchira Chaiviboontham, Nirobol Kanogsunthorntrat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72080
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลและผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียมจำนวน กลุ่มละ 30 รายที่่ปฏิบัติงานและพักรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียม และแบบประเมินผลเชิงกระบวนการของการใช้แนวปฏิบัติ แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดููแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียม ประกอบด้วย การดููแลใน 3 ระยะคือ 1) ระยะก่อนผ่าตัด 2) ระยะหลังผ่าตัด และ 3) ระยะก่อนและหลังจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย จากการประเมินเชิงกระบวนการพบว่า พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับดี มีความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติและเหมาะสมที่่จะนำไปใช้ต่อเนื่่องในหน่วยงานด้านผู้ป่วย เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี ในด้านความปวดเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 3 คะแนนในทุุกระยะของการผ่าตัดความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่าทั้งการเหยียด-งอเข่าทำได้ดี ความสามารถในการเดินมากกว่า 20 เมตรทุุกราย และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2.98 วัน และมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการดูแลและการพยาบาล จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่่ยนข้อเข่าเทียม เพื่่อคุณภาพทางการพยาบาล ทั้งนี้อาจปรับให้เหมาะสมกับบริบทการบริการในแต่ละหน่วยงาน