ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 2 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 29 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับกา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธิดารัตน์ นาคสมบูรณ์, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72131
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 2 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 29 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ประยุกต์แนวคิดทักษะชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3)ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา 4) ทักษะการปฏิเสธ โดยกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตประกอบด้วยกิจกรรมสุขศึกษา 4 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 60 นาที เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะคือก่อนการทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square, Independent t-test, Repeated Measure ANOVA และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังทดลองและระยะติดตาม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาแตกต่างกันจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.004 และ p<0.001 ตามลำดับ) ยกเว้นทักษะการปฏิเสธที่ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.147) สาหรับกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่พบความแตกต่างกันของคะแนนเฉลี่ยในทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะ การปฏิเสธ (p>0.05) ยกเว้นทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) และในระยะติดตามผลคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 4 ทักษะของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น โรงเรียนจึงควรประยุกต์โปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตนี้ไปบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนในการป้องกันการสูบบุหรี่