ผลของการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการรับประทานยาที่ถูกต้องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้อง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 38 คนเท่ากัน กลุ่มทดลอ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ขนิษฐ ชาญชัย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, นิรัตน์ อิมามี
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72152
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้อง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 38 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้อง เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ กิจกรรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการรับประทานยาที่ถูกต้องด้วยวิธีการทางสุขศึกษา ได้แก่ การบรรยายประกอบสไลด์ การสาธิตและให้ฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้จากตัวแบบ การติดตามเยี่ยมบ้าน และการเฝ้าระวังระดับความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมูบ้าน (อสม.) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการบริการสุขศึกษาตามปกติจากสถานบริการสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการรับประทานยาที่ถูกต้อง ความคาดหวังในผลลัพธ์ในการรับประทานยาที่ถูกต้อง พฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้องมีประสิทธิผลสามารถนาไปประยุกต์ในการดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องได้ โดยพิจารณากิจกรรมตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานบริการ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยได้ต่อไป