ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงในชุมชนเมือง

การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิหลายขั้นตอนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุวรรณี จรูงจิตรอารี, วัฒนารี อัมมวรรธน์, จตุพร วิชิตสระน้อย, Suwannee Jarungjitaree, Watthanaree Ammawat, Jatuporn Wichitsranoi
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72169
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิหลายขั้นตอนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้หญิงที่สูบบุหรี่ เคยสูบบุหรี่ และไม่เคยสูบบุหรี่ มีร้อยละ 27, 8 และ 65 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.6 มีอายุระหว่าง 19–24 ปี อายุเริ่มสูบต่ำสุด คือ 11ปี เริ่มสูบบุหรี่เพราะอยากลอง สูบบุหรี่วันละ 6–10 มวน สูบมานาน 5–10 ปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิง พบว่า การมีเพื่อนสนิทและสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่สูงถึง 15 เท่า และ 3.5 เท่า ตามลำดับการเห็นโฆษณาและส่งเสริมการขายของบริษัทบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ 3 เท่า การมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่สูงถึง 26 เท่า นอกจากนี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ระดับการศึกษาและรายได้ของครอบครัวต่ำมีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ 5 เท่า สิ่งที่น่าสนใจคือ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้หญิงที่สูบและไม่สูบบุหรี่ ผลการศึกษานี้เรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบังคับใช้กฎหมายในด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ควรหมั่นตรวจตราเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมายควบคุมยาสูบโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอย่างเคร่งครัด อีกทั้งสถาบันการศึกษาและครอบครัวต้องช่วยพัฒนาทักษะชีวิตให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่