ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายในนักเรียน ที่มีภาวะโภชนาการเกินโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การบริโภคอาหาร และการมีกิจกรรมทางกายตามวิถีชีวิตแบบเมืองส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกินในเด็ก การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายในนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ศึกษากึ่งทดลองในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิภารัตน์ แก้วเทศ, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, Viparut Kaewtes, Punyarat Lapvongwatana, Paranee Vatanasomboon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72172
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การบริโภคอาหาร และการมีกิจกรรมทางกายตามวิถีชีวิตแบบเมืองส่งผลต่อภาวะโภชนาการเกินในเด็ก การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายในนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ศึกษากึ่งทดลองในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนกลุ่มทดลอง 30 คน โรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน จัดกิจกรรมเรียนรู้เพิ่มความสามารถของตนเอง 3 สัปดาห์ และติดตามผล 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่มและการวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมโดยรวมในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 70.0 80.0 และ 30.0 ตามลำดับภายหลังการทดลองทันที และคิดเป็นร้อยละ 80.0 90.0 และ 16.7 ตามลำดับในระยะติดตามผล และคะแนนเฉลี่ยความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่พฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับต่ำร้อยละ16.6 และ 33.3 ตามลำดับ การประยุกต์ทฤษฏีปัญญาสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายที่พึงประสงค์ การนำโปรแกรมไปใช้ควรมีการประสานงานกับพยาบาลสาธารณสุข โรงเรียนและผู้ปกครองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน