พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดกาญจนบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรคและในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง 2 กลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงสำร...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72187 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรคและในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง 2 กลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษารวม 400 ราย ของ 2 พื้นที่ในจังหวัดกาญจบุรี โดยแบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค จำนวนกลุ่มละ 200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งสองเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก และการศึกษา โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง (R = 0.402) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค ได้แก่ บุคคลในครอบครัวที่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการติดเชื้อไข้หวัดนก และสถานภาพในครอบครัว โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระกับปานกลาง (R = 0.524) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกให้ดีขึ้น |
---|