การศึกษาเปรียบเทียบการใส่ท่อช่วยหายใจด้วย Video laryngoscope และ Macintosh laryngoscope ในหุ่นทดลองท่านั่งที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณคอ ในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีประสบการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจมาก่อน

บทนำ: ผู้บาดเจ็บติดภายในรถต้องระวังการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ และจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธีประจันหน้า (Face-to-face intubation) ซึ่งใช้ Macintosh laryngoscope ปัจจุบันได้มีการพัฒนา Video laryngoscope เพื่อช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใส่ท่อช่วยหาย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ภัทรานิษฐ์ ภัทรพรเจริญ, พรหมเพชร นวลพรม, ประยุทธ สุขอุ้ม, มนินา ทิลารักษ์, ไชยพร ยุกเซ็น, Phatthranit Phattharapornjaroen, Promphet Nuanprom, Prayoot Suk-um, Manina Thilarak, Chaiyaporn Yuksen
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72205
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: ผู้บาดเจ็บติดภายในรถต้องระวังการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ และจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธีประจันหน้า (Face-to-face intubation) ซึ่งใช้ Macintosh laryngoscope ปัจจุบันได้มีการพัฒนา Video laryngoscope เพื่อช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างวิธี Video laryngoscope และ Macintosh laryngoscope ในโมเดลหุ่นท่านั่งที่จำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณคอ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใส่ท่อช่วยหายใจด้วยวิธีประจันหน้าโดยใช้ Video laryngoscope และใช้ Macintosh laryngoscope ในโมเดลหุ่นท่านั่งที่จำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณคอ จากนั้นเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จการใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาที่ใช้ในการใส่ท่อช่วยหายใจ และมุมมองของการมองเห็นกล่องเสียงของทั้ง 2 วิธี ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 41 คน เป็นนักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 แบ่งเป็นกลุ่มที่ใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Video laryngoscope จำนวน 21 คน และใช้ Macintosh laryngoscope จำนวน 20 คน การใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Macintosh laryngoscope มีอัตราความสำเร็จมากกว่า Video laryngoscope อย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 100 และ ร้อยละ 25, P < .001) และใช้ระยะเวลาสำเร็จน้อยกว่าการใช้ Video laryngoscope อย่างมีนัยสำคัญ (mean [SD], 27 [24.7] และ 75 [66.3] วินาที, P < .001) แต่มุมมองของการมองเห็นสายเสียงจากการใส่ท่อช่วยหายใจทั้ง 2 วิธี พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P = .08) สรุป: การสอนใส่ท่อช่วยหายใจในผู้บาดเจ็บท่านั่งที่จำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณคอด้วยวิธีประจันหน้าโดยใช้ Macintosh laryngoscope ง่ายกว่า เนื่องจากมีอัตราความสำเร็จการใส่ท่อช่วยหายใจสูงกว่าและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Video laryngoscope ขณะที่มุมมองของการมองเห็นสายเสียงของทั้ง 2 วิธี ไม่มีความแตกต่างกัน