คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทนำ: โรคเอสแอลอี (Systemic lupus erythematosus, SLE) เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการในหลายอวัยวะ อีกทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกันหลายชนิด ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธนัชพร กาฝากส้ม, ณิชาภา เดชาปภาพิทักษ์, ธนิษฐา สรวงท่าไม้, พิณทิพย์ งามจรรยาภรณ์, ธเนศ ปิติธรรมภรณ์, นพรัตน์ ฤชากร, Thanuchporn Kafaksom, Nichapha Dechapaphapitak, Thanitta Suangtamai, Pintip Ngamjanyaporn, Dhanesh Pitidhammabhorn, Nopparat Ruchakorn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72214
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: โรคเอสแอลอี (Systemic lupus erythematosus, SLE) เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการในหลายอวัยวะ อีกทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกันหลายชนิด ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตกับผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ที่เข้ารับบริการทุกราย ในช่วงเวลาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 510 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.7) ค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 40.9 ปี (SD, 13.0) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาของการเป็นโรคเท่ากับ 10.5 ปี (SD, 8.2) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 54.1) สิทธิการรักษาที่ใช้มากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 33.5) โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีข้อจำกัดในการตั้งครรภ์แต่ผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนบุตร 3 คน มากถึงร้อยละ 7.2 และมีภาวะแท้งในขณะตั้งครรภ์ต่ำเพียงร้อยละ 17.0 นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพชีวิตทั่วไป (SF-36) อยู่ในเกณฑ์ดี และคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคเอสแอลอี (SLEQoL) อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมาก และเป็นโรคมานานจะมีคุณภาพชีวิตด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่ายกายและสุขภาพโดยรวมแย่กว่าผู้ที่มีอายุน้อย และผู้ที่มีระยะเวลาของการเป็นโรคเอสแอลอีไม่นาน สรุป: ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีที่มารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี มีคุณภาพชีวิตค่อนข้างดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตคือ อายุและระยะเวลาการเป็นโรค