การป้องกันความผิดพลาดจากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ความผิดพลาดในช่วงก่อนการวิเคราะห์
ความผิดพลาดในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความผิดพลาดก่อนการวิเคราะห์ 2) ความผิดพลาดระหว่างการวิเคราะห์ และ 3) ความผิดพลาดหลังการวิเคราะห์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดในช่วงก่อนการวิเคราะห์โดยมักเป็นความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากมนุษย์ ทำให้ผลการทดสอบที่ได้ไม่น่าเชื่อถือและส...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Review Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72258 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Summary: | ความผิดพลาดในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความผิดพลาดก่อนการวิเคราะห์ 2) ความผิดพลาดระหว่างการวิเคราะห์ และ 3) ความผิดพลาดหลังการวิเคราะห์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดในช่วงก่อนการวิเคราะห์โดยมักเป็นความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากมนุษย์ ทำให้ผลการทดสอบที่ได้ไม่น่าเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย วินิจฉัยและรักษาโรคผิดพลาด เกิดภาวะแทรกซ้อน (อาจถึงขั้นเสียชีวิต) ตามมาได้ ดังนั้น การกำหนดข้อบังคับและแนวทางปฏิบัติในการจัดการกับตัวอย่างเพื่อให้สามารถระบุชื่อผู้ป่วยได้ถูกคน ลดการปนเปื้อนของตัวอย่าง เก็บและส่งตัวอย่างได้ถูกวิธี จะช่วยลดความผิดพลาดลงได้ อีกทั้งการตระหนักถึงข้อจำกัดของการทดสอบและการสื่อสารกับห้องปฏิบัติการ เมื่อผลการทดสอบไม่สอดคล้องกับอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่การแปลผลการทดสอบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อาจให้ผลบวกลวงหรือลบลวงได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดข้างต้น ดังนั้น ควรส่งทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างเหมาะสมตามข้อบ่งชี้เพื่อลดโอกาสของความผิดพลาดและผลกระทบที่ตามมาโดยไม่จำเป็น |
---|