ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีคลอดทางช่องคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี

บทนำ: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะของสตรีคลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดีสูงกว่าเป้าหมาย ทีมสูติแพทย์ได้พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บของสตรีคลอดทางช่อง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: โสภาพรรณ พวงบุญมี, พรศรี ดิสรเตติวัฒน์, สมมาตร บำรุงพืช, นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ, Sophaphan Ploungbunmee, Pornsri Disorntatiwat, Sommart Bumrungphuet, Nitaya Rotjananirankit
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาล
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72261
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะของสตรีคลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดีสูงกว่าเป้าหมาย ทีมสูติแพทย์ได้พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บของสตรีคลอดทางช่องคลอดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีคลอดทางช่องคลอดก่อนใช้แนวปฏิบัติจำนวน 983 คน หลังใช้แนวปฏิบัติจำนวน 914 คน เก็บข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะและการติดเชื้อแผลฝีเย็บทั้งก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square test ผลการศึกษา: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะมีความสัมพันธ์ต่อการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) โดยลดลงจากร้อยละ 25.43 เป็นร้อยละ 9.85 อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.40 เป็นร้อยละ 34.44 และอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บก่อนและหลังใช้แนวทางปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .96) โดยไม่พบการติดเชื้อแผลฝีเย็บทั้ง 2 กลุ่ม สรุป: แนวปฏิบัติทางคลินิกในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีหลังคลอดโดยไม่มีการติดเชื้อแผลฝีเย็บ และมีการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผลเพิ่มขึ้น