สถานการณ์ผู้ป่วยครองเตียงนานในโรงพยาบาลที่ไม่สามารถจำหน่ายได้
บทนำ: ปัญหาสถานการณ์ผู้ป่วยครองเตียงนานในโรงพยาบาลที่ยังไม่สามารถจำหน่ายได้ทั่วประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ การศึกษานี้จะทำให้ทราบถึงปัญหาและเป็นแนวทางพัฒนาสร้างระบบการจัดการเพื่อให้เกิดมาตรฐานในระบบบริการสุขภาพในระดับนโยบายต่อไป วัตถุประสงค์: เพื...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79558 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | บทนำ: ปัญหาสถานการณ์ผู้ป่วยครองเตียงนานในโรงพยาบาลที่ยังไม่สามารถจำหน่ายได้ทั่วประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ การศึกษานี้จะทำให้ทราบถึงปัญหาและเป็นแนวทางพัฒนาสร้างระบบการจัดการเพื่อให้เกิดมาตรฐานในระบบบริการสุขภาพในระดับนโยบายต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลทางสังคมถึงปัญหาสถานการณ์ผู้ป่วยครองเตียงนาน ซึ่งนำไปสู่แนวทางการวางแผนช่วยเหลือผู้ป่วยครองเตียงที่มีโรคซ้ำซ้อน และส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านใช้ศักยภาพในการดูแลรักษาอย่างคุ้มค่า รวมทั้งศึกษาแนวทางพัฒนาทรัพยากรเครือข่ายและระบบการจัดการจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากบันทึกรายงานผู้ป่วยของนักสังคมสงเคราะห์ที่ดูแลผู้ป่วยและไม่สามารถจำหน่ายได้ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: สถานการณ์ผู้ป่วยครองเตียงนานในโรงพยาบาลที่มีระยะเวลา 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 86.8 และผู้ป่วยครองเตียงนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 1.6 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและระบบประสาท (ร้อยละ 39.5) ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (ร้อยละ 36.4) และอยู่ในภาวะพึ่งพิงขาดผู้ดูแล (ร้อยละ 65.9) ซึ่งเป็นปัจจัยให้จำหน่ายได้ยาก เมื่อนักสังคมสงเคราะห์ได้ปฏิบัติงานตามกระบวนการช่วยเหลือแล้วยังคงมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งค้างอยู่ในหอผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องหาทรัพยากรเครือข่ายเพื่อส่งต่อผู้ป่วย แต่ยังคงมีปัญหาด้วยข้อจำกัดหลายประการ
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลปฏิเสธที่จะรับผู้ป่วยไปดูแล และคิดว่าไม่มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย วิธีการจำหน่ายผู้ป่วยครองเตียงนานที่ไม่มีญาติหรือผู้ดูแล คือ การส่งต่อสถานสงเคราะห์ ซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการทำให้ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้ |
---|