การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Caffeine และ Dextromethorphan ที่ระดับความเข้มข้นสูงโดย Human Liver Microsomes

Dextromethorphan เป็นยาที่มีโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ isomer แบบ dextro-rotatory ของยาแก้ปวดกลุ่ม opioid หลังการรับประทานยาในมนุษย์ ยา dextromethorphan จะเกิดปฏิกิริยา demethylation โดยเอนไซม์ cytochrom P450 ทาง CYP2D6 ไปเป็น dextrorphan ในปัจจุบันยา dextromethorphan นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาอาการไอ เนื่อง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชรินทร สีด้วง, ชัยรัตน์ มานะเสถียรกิจ, ชัชวิน ระงับภัย, วรวีร์ ไวยวุฒิ, Charinthon Seeduang, Chairat Manasatienkij, Chachawin Rangabphai, Worawee Waiyawuth
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชานิติเวชศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79720
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:Dextromethorphan เป็นยาที่มีโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ isomer แบบ dextro-rotatory ของยาแก้ปวดกลุ่ม opioid หลังการรับประทานยาในมนุษย์ ยา dextromethorphan จะเกิดปฏิกิริยา demethylation โดยเอนไซม์ cytochrom P450 ทาง CYP2D6 ไปเป็น dextrorphan ในปัจจุบันยา dextromethorphan นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาอาการไอ เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งศูนย์การไอ medullary ในสมองส่วนกลาง โดยการใช้ยา dextromethorphan ในช่วงระดับการรักษา ไม่มีผลทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มมีความสุข ลดอาการเจ็บปวด หรือเกิดอาการพิษอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมีการนำยา dextromethorphan มาใช้ในทางที่ผิดเพื่อหวังผลในการเคลิบเคลิ้มมีความสุข โดยพบว่า การใช้ยา dextromethorphan ที่ขนาดยามากกว่า 360 mg ร่วมกับยาเสพติดอื่น เช่น กระท่อม หรือยานอนหลับ ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มมีความสุขหรือช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ ซึ่งในประเทศไทยพบจำนวนผู้ใช้ยาในทางที่ผิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต นอกจากนี้พบว่า นิยมใช้ยา dextromethorphan ร่วมกับ caffeine เนื่องจาก caffeine มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดอาการสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และสามารถหาซื้อได้ง่าย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มหลายชนิด โดยในการศึกษานี้จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยา dextromethorphan และ caffeine ในหลอดทดลอง โดยสกัด dextromethorphan และเมตาบอไลท์คือ dextrorphan โดยใช้หลักการ solid phased extraction และตรวจวัดปริมาณโดยเทคนิค gas chromatography และ mass spectrometer จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยา dextromethorphan และ caffeine ในหลอดทดลอง พบว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงยา dextromethorphan (0.1 - 5.0 ug/ml) ถูกยับยั้งอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) โดย caffeine (10 - 100 ug/ml) แต่ไม่มีผลกับเมตาบอไลท์คือ dextrorphan จึงสรุปได้ว่าพิษวิทยาของการใช้ยาร่วมกันระหว่าง dextromethorphan กับ caffeine ที่ระดับความเข้มข้นสูง อาจส่งผลให้ปริมาณยา dextromethorphan สามารถอยู่ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ยาวนานขึ้น