การศึกษาย้อนหลังภาวะแทรกซ้อนจากการทำผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดในระยะ learning curve ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทนำ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้นำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาทำการติดตั้งที่ห้องผ่าตัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ในปี 2013 ได้ทำการศึกษาภาวะแทรกซ้อนในระยะ perioperative ที่เกิดกับผู้ป่วยในระยะ learning curve ของทีมผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด วัตถุประสงค์: ทำการศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระยะ p...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประภาพรรณ ศรีจินไตย, เมธิณี พิศาลายน, Prapapan Srichintai, Metinee Pisalayon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79735
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้นำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาทำการติดตั้งที่ห้องผ่าตัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ในปี 2013 ได้ทำการศึกษาภาวะแทรกซ้อนในระยะ perioperative ที่เกิดกับผู้ป่วยในระยะ learning curve ของทีมผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด วัตถุประสงค์: ทำการศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระยะ perioperative ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robot assisted laparoscopic surgery, RALS) สำหรับการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) ในช่วงระยะเวลาเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ในปี 2013 วัสดุและวิธีการ: ทำการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วย จำนวน 27 คน ซึ่งเข้ามารับการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2013 ซึ่งเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของการบริการอันเป็นระยะเวลา learning curve ของทีม ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับยาระงับความรู้สึกเพื่อทำการผ่าตัด พร้อมทั้งมีการเตรียม blood components ต่างๆ ก่อนผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด ภายหลังผ่าตัดจะรับผู้ป่วยไว้ดูแลใน ICU หรือ step down word ทุกราย ยกเว้นผู้ป่วยเพศชาย จำนวน 1 คน และเพศหญิง จำนวน 2 คน ที่รับไว้สังเกตอาการที่หอผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกรายสามารถกลับบ้านและมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาตามเวลานัดหมาย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 27 คน เข้ารับการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (RALS) เป็นเพศหญิง จำนวน 2 คน ได้รับวินิจฉัยว่ามีบุตรยาก อายุเฉลี่ย 36.5 ปี ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 187.5 นาที นอนพักในโรงพยาบาล 2 - 5 วัน ผู้ป่วยเพศหญิง จำนวน 1 คน มีปัญหา subcutaneous emphysema เล็กน้อยและกลับบ้านในวันที่ 3 ของการอยู่โรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ subcutaneous emphysema ผู้ป่วยจำนวน 2 คน เกิด ileus ปัญหาที่รุนแรงคือ massive bleeding ไม่พบว่าต้องมีการเปลี่ยนการผ่าตัดเป็น open surgery หรือต้องกลับมาผ่าตัดอีกครั้ง ไม่พบว่ามี mortality เกิดขึ้นในระยะ perioperative สรุป: ภาวะแทรกซ้อนในระยะ perioperative ของผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (RALS) สำหรับการผ่าตัดบริเวณ pelvic ของทีมผ่าตัดในระยะ learning curve พบน้อย การเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวสัมพันธ์กับโรคประจำตัวของผู้ป่วยมากกว่า