ปัจจัยปัญหาของนักรังสีการแพทย์ต่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนางานถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กให้ได้ผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มาใช้บริการ รวมถึงการแปลผลของรังสีแพทย์และการประสานงานเป็นทีมสหวิชาชีพ วิธีการศึกษา: นักรังสีการแพทย์ ภาควิชารังสีวิทยา จำนวน 46 คน ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย การเก็บข้อมูล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรุณ เจ็งที, โยธิน คำแสง, สุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ, รัตนพร พรกุล, จันทร์จิรา ชัชวาลา, Aroon Jengtee, Yothin Kumsang, Suphaneewan Jaovisidha, Ratanaporn Pornkul, Janjira Jatchavala
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชารังสีวิทยา
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79740
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนางานถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กให้ได้ผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มาใช้บริการ รวมถึงการแปลผลของรังสีแพทย์และการประสานงานเป็นทีมสหวิชาชีพ วิธีการศึกษา: นักรังสีการแพทย์ ภาควิชารังสีวิทยา จำนวน 46 คน ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ศึกษาปัญหาของนักรังสีการแพทย์ต่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็ก ศึกษาช่วงอายุเด็กที่มีปัญหาต่อการถ่ายภาพรังสี และศึกษาปัญหาอื่นๆ ที่พบเห็นในการปฏิบัติงาน โดยแบ่งการตอบคำถามเป็นระดับ 1-5 (เป็นปัญหาน้อยที่สุดจนถึงมากที่สุด) แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยแจกจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ยรวมทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 11.0 ผลการศึกษา: นักรังสีการแพทย์ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 73.9 เป็นหญิง และร้อยละ 26.1 เป็นชาย เป็นผู้มีประสบการณ์ไม่เกิน 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.9 ประสบการณ์ทำงาน 6 - 10 ปี ร้อยละ 6.5 และประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.6 พบว่า ช่วงอายุเด็กที่มีปัญหาต่อการถ่ายภาพรังสีมากที่สุดคือ 2 ปีขึ้นไปถึง 4 ปี รองลงมาคือ ช่วงอายุแรกเกิด 2 ปี ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นปัญหาในระดับมากถึงมากที่สุดคือ การที่เด็กดิ้นและไม่อยู่นิ่ง (ค่าเฉลี่ย 4.78 จาก 5) รองลงมาคือ เด็กไปทำหัตถการอื่นมาก่อนทำให้เจ็บปวด (4.28) ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองหรือญาติเป็นปัญหาในระดับปานกลางถึงมากคือ ผู้ปกครองมีความกังวลสูง (3.60) รองลงมาคือ ผู้ปกครองกลัวเด็กจะได้รับอันตรายจากรังสี (3.50) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริการเป็นปัญหาในระดับปานกลางถึงมากคือ ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการผู้ป่วยรายต่อไป (3.50) รองลงมาคือ การที่ต้องถ่ายภาพรังสีซ้ำให้ได้มาตรฐาน (3.36) ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นปัญหาในระดับน้อยถึงปานกลางคือ นักรังสีการแพทย์รู้สึกว่าการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็กเป็นงานที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน (2.76) รองลงมาคือ พนักงานผู้ช่วยไม่ช่วยจับยึดตัวเด็ก (2.69) สรุป: ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็ก นักรังสีการแพทย์พบปัญหามากที่สุดกับผู้ป่วยเด็กช่วงอายุ 2 ขึ้นไปถึง 4 ปี ปัจจัยเกี่ยวกับตัวเด็กที่พบมากที่สุดคือ การที่เด็กดิ้นและไม่อยู่นิ่ง ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ปกครองที่พบมากที่สุดคือ ผู้ปกครองมีความกังวลสูงและกลัวว่าเด็กจะได้รับอันตรายจากรังสี ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริการที่พบมากคือ ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการผู้ป่วยรายต่อไป