ความไวในการตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิด้วยวิธี ELISA
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ในกาตรวจหาปริมาณแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิและศึกษาความไวในการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงการทดลอง (experimental research) โดยใช้ตัวอย่างน้ำอสุจิรวมที่ได้รับการบริจาคจากอาสาสมัครชายไทยที่มีสุ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79758 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ในกาตรวจหาปริมาณแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิและศึกษาความไวในการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงการทดลอง (experimental research) โดยใช้ตัวอย่างน้ำอสุจิรวมที่ได้รับการบริจาคจากอาสาสมัครชายไทยที่มีสุขภาพดี งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองอย่างน้อย 5 วัน จำนวน 20 คน อายุ 23-55 ปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ตัวอย่างน้ำอสุจิทั้งหมดถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิ -80°ซ เพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์ต่อไป ในการศึกษานี้ใช้วิธีการตรวจหาปริมาณแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากด้วยวิธี ELISA ตามที่มีผู้รายงานไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วโดยดัดแปลงและปรับสภาวะบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมต่อการตรวจที่สุด เมื่อคำนึงถึงชนิดของสารละลาย อัตราการเจือจางและส่วนประกอบของสารละลายแต่ละชนิด และระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ จากนั้นจึงทำการศึกษาความไวของการตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิ
ผลการศึกษา: ผู้วิจัยได้รายงานวิธีการตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากที่ได้ดัดแปลงและปรับสภาวะให้เหมาะสมสำหรับการตรวจด้วยวิธี ELISA และพบว่าวิธี ELISA สามารถตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิที่เจือจาง 1:106 เท่า ที่ความเข้มขันเฉลี่ย 0.56 ± 0.03 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
สรุป: วิธี ELISA เป็นวิธีที่กรระทำได้ง่าย มีความไวและความจำเพาะสูงต่อการตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในน้ำอสุจิ จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตรวจพิสูจน์น้ำอสุจิที่ใช้เป็นงานประจำในห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในกรณีที่มีตัวอย่างวัตถุพยานจำนวนมาก และสำหรับการตรวจวิเคราะห์แอนติเจนที่จำเพาะต่อต่อมลูกหมากในการศึกษาวิจัยต่อไปด้วย |
---|