ความรู้และเจตคติของครูที่สอนระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรคซนสมาธิสั้น

บทนำ: โรคซนสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวเป็นอย่างมาก ครูเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเด็กมารักษาและช่วยเหลือที่โรงเรียน วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความรู้และเจตคติของครูต่อนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น และเพื่อหาปัจจัยของครูสังกัดกรุงเทพมหานครท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปรารถนา ชิตพงศ์, ปราโมทย์ สุคนิชย์, Pratana Chitapong, Pramote Sukanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79762
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: โรคซนสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวเป็นอย่างมาก ครูเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเด็กมารักษาและช่วยเหลือที่โรงเรียน วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความรู้และเจตคติของครูต่อนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น และเพื่อหาปัจจัยของครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอิทธิพลต่อความรู้และเจตคติต่อนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น วิธีการศึกษา: ศึกษาภาคตัดขวางในครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความรู้ ด้าน biological และด้าน psychosocial 25 ข้อ และแบบวัดเจตคติ 20 ข้อ ผลการศึกษา: แบบวัดความรู้และเจตคติหลังผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงถ้อยคำและตัดข้อที่ไม่เหมาะสมแล้วมีความเที่ยงทั้งฉบับแบบวัดความรู้และแบบวัดเจตคติเท่ากับ 0.39 และ 0.75 ตามลำดับ ในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น พบว่าเพศหญิงมีความรู้มากกว่าเพศชาย ระดับชั้นที่สอนมีความรู้ไม่ต่างกัน ครูอายุน้อยมีความรู้มากกว่าครูอายุมาก จำนวนชั่วโมงที่สอนเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมากกว่า มีความรู้มากกว่าครูสอนเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นหลายคนมีความรู้มากกว่าครูที่ไม่เคยสอน ครูที่ผ่านการอบรมมีความรู้มากกว่าครูที่ไม่ผ่านการอบรม ครูส่วนใหญ่มีความด้าน psychosocial มากกว่า biological ยกเว้นครูที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ดีทั้งสองด้าน ในด้านเจตคติพบว่า ระดับชั้นที่สอน เพศ และจำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันในด้านระดับเจตคติ โดยกลุ่มครูมีอายุมากขึ้นและกลุ่มครูที่ยังไม่เคยสอนนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมีระดับเจตคติที่สูงมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย และมีประสบการณ์สอนนักเรียนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น ตามลำดับ โดยความรู้มีความสัมพันธ์ในทางลบกับเจตคติ