ความรุนแรงในครอบครัวของชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจขนาดของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกในชุมชนแห่งหนึ่ง จาก 4 หมู่บ้านในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 387 คน ผลการศึกษา: พบว่าร้อยละ 7.8 (30 คน) มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยประสบการณ์ถูกกระทำร...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79809 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจขนาดของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกในชุมชนแห่งหนึ่ง จาก 4 หมู่บ้านในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 387 คน
ผลการศึกษา: พบว่าร้อยละ 7.8 (30 คน) มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยประสบการณ์ถูกกระทำรุนแรงด้านร่างกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อเดือน พบว่าร้อยละ 4.3 ถูกใช้กำลังทุบตี/ ชกต่อยร้อยละ 4.0 ถูกขว้างปาสิ่งของใกล้มือใส่ทันทีเมื่ออีกฝ่ายมีอารมณ์ฉุนเฉียว และร้อยละ 3.1 ถูกทำร้ายทุบตีทันทีเมื่อตอบปฏิเสธอีกฝ่าย ส่วนประสบการณ์ของความรุนแรงในครอบครัวด้านการทำร้ายจิตใจที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อเดือน พบว่าร้อยละ 6.5 มีประสบการณ์ที่อีกฝ่ายหนึ่งจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล และร้อยละ 5.3 ถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคายในขณะที่ประสบการณ์ของความรุนแรงในครอบครัวด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อเดือน พบว่าร้อยละ 10.2 ถูกติดตามไม่ว่าจะไปทำอะไรที่ไหน ในขณะที่ร้อยละ 5.0 ถูกอีกฝ่ายพยายามควบคุมการใช้จ่าย และร้อยละ 3.7 จะต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้สินที่อีกฝ่ายก่อไว้
สรุปผลการศึกษา: ขนาดของปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี มีร้อยละ 7.8 โดยพบเป็นการกระทำทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านจิตใจและด้านร่างกาย ควรที่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการนำเอาแนวทางกฎหมายที่มีอยู่มาใช้แก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ เพราะทัศนคติของประชาชนได้ให้การตอบรับที่ดีต่อการแก้ไขปัญหานี้ |
---|