ผลของการฟังดนตรีแบบปัจเจกบุคคลต่อพฤติกรรมกระวนกระวายในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ ศึกษาในกลุ่มเดียวแบบสองระยะไขว้กันมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมกระวนกระวายในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมช่วงที่ได้รับการฟังดนตรีแบบปัจเจกบุคคล (ระยะทดลอง) และช่วงที่ไม่ได้รับการฟังดนตรี (ระยะควบคุม) กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของบ้า...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ลลิตา สว่างจันทร์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ, Lalita Sawangchan, Porntip Malathum, Nuchanad Sutti
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79928
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทคัดย่อ: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ ศึกษาในกลุ่มเดียวแบบสองระยะไขว้กันมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมกระวนกระวายในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมช่วงที่ได้รับการฟังดนตรีแบบปัจเจกบุคคล (ระยะทดลอง) และช่วงที่ไม่ได้รับการฟังดนตรี (ระยะควบคุม) กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของบ้านพักผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์จำนวน 16 ราย ใช้การจับฉลากจัดลำดับก่อนหลังของทั้ง 2 ช่วง โดยช่วงทดลอง จัดให้ฟังดนตรีครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 4 สัปดาห์ และช่วงควบคุม 4 สัปดาห์ มีระยะพักระหว่างช่วง 2 สัปดาห์ และประเมินพฤติกรรมกระวนกระวายด้วยแบบประเมินของโคเฮน-แมนสฟิลด์ทั้ง 2 ระยะทุกสัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 1-4) และหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฟังดนตรี (สัปดาห์ที่ 5 และ6) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมกระวนกระวายโดยรวมในระยะทดลองลดลงมากกว่าระยะควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมกระวนกระวายรายด้านระหว่าง 2 ช่วง พบว่าค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกระวนกระวายด้านร่างกายที่ไม่ก้าวร้าวและทางด้านภาษาที่ก้าวร้าวในระยะทดลองลดลงมากกว่าในระยะควบคุมใน 2 สัปดาห์แรก ส่วนค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมกระวนกระวายด้านภาษาที่ไม่ก้าวร้าวและด้านร่างกายที่ก้าวร้าวระหว่าง 2 ระยะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในสัปดาห์ที่ 5 และ 6 เมื่อหยุดการฟังดนตรี พบว่าพฤติกรรมกระวนกระวายด้านภาษาที่ไม่ก้าวร้าวในระยะทดลองมีแนวโน้มมากขึ้นกว่าระยะควบคุม ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการฟังดนตรีแบบปัจเจกบุคคลสามารถลดพฤติกรรมกระวนกระวายโดยรวมและสามารถลดพฤติกรรมกระวนกระวายในด้านร่างกายที่ไม่ก้าวร้าวและด้านภาษาได้แม้ไม่สม่ำเสมอ แต่ไม่สามารถลดพฤติกรรมกระวนกระวายด้านร่างกายที่ก้าวร้าวได้ ดังนั้น บุคลากรที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมสามารถนำโปรแกรมการฟังดนตรีแบบปัจเจกบุคคลที่คำนึงถึงความชอบของผู้สูงอายุมาเป็นตัวเลือกหรือปรับใช้เพื่อลดพฤติกรรมกระวนกระวายด้านที่ไม่ก้าวร้าวได้