อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็นโรคจากการทำงานที่พบมากในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยสาเหตุของการเกิดอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดจากสาเหตุทางการยศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วามริน คีรีวัฒน์, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, จุฑาธิป ศีลบุตร, เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์, Wamarin Keereewat, Amarin Kongtawelert, Jutatip Sillabutra, Petcharatana Bhuanantanondh
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79935
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็นโรคจากการทำงานที่พบมากในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยสาเหตุของการเกิดอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดจากสาเหตุทางการยศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 75 คน ทั้งพนักงานฝ่ายผลิตและพนักงานฝ่ายสำนักงาน ที่เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด บริเวณคลินิกที่อยู่ภายในโรงงาน โดยใช้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือคำถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่พนักงานฝ่ายผลิตมีลักษณะการทำงานคือเป็นงานที่หลังอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติและยกของหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง (65.4%) และพนักงานฝ่ายสำนักงาน ลักษณะการทำงานที่โดยใช้คอมพิวเตอร์มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดคือบริเวณคอ (51.4%) มีระดับความเจ็บปวดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับการออกกำลังกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับดัชนีมวลกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย สรุปได้ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านการยศาสตร์ และปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกันทำให้เกิดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน ดังนั้นควรจะมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องลักษณะการทำงาน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร เพื่อนำไปสู่การทำงานที่ปลอดภัยท่าทางการทำงานที่ดีขึ้นเพื่อเพิ่มสถานะด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีของพนักงาน