ปัจจัยทำนายความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

วัตถุประสงค์ : ความกดดันทางจิตใจเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อความเครียดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้มuพฤติกรรมทางสังคม อารมณ์ และอาการทางกายที่เปลี่ยนไปจากปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัจจัยทำนาย รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ลาวัณย์ ตุ่นทอง, Lawan Toontong, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol, เจริญ ชูโชติถาวร, Charoen Chuchottaworn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8739
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ : ความกดดันทางจิตใจเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อความเครียดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้มuพฤติกรรมทางสังคม อารมณ์ และอาการทางกายที่เปลี่ยนไปจากปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัจจัยทำนาย รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรีจำนวน 107 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 90.7 ไม่มีความกดดันทางจิตใจ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับ ภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่คุกคาม เป็นอันตราย และความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย และไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง รวมทั้งการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตัวแปรทุกตัวร่วมกันทำนายความกดดันทางจิตใจได้ร้อยละ 40 (R2 = .40, p < .01) เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความกดดันทางจิตใจ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นอันตรายต่อตนเอง (β = .26, p < .05) และการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง (β = - .25, p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับแหล่งประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อการลดภาวะความกดดันทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการประเมินสถานการณ์ที่เหมาะสม มีการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงของโรคและมีการสนับสนุนด้านข้อมูลที่เหมาะสมและด้วยหลากหลายวิธีแก่ผู้ป่วย