ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชนเขตเมือง

วัตถุประสงค์: ศึกษาตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดี กลวิธีการจัดการของชุมชน ปัจจัยและตัวชี้วัดการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดําเนินการวิจัย: คัดเลือกชุมชนตัวอย่างแบบเจาะจง 2 แห่ง คือ ชุมชนล็อค 4-5-6 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และชุมชน 30 กันยาพัฒนา อําเภ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นารีรัตน์ จิตรมนตรี, Narirat Jitramontree, วิไลวรรณ ทองเจริญ, Vilaivan Thongchareon, สาวิตรี ทยานศิลป์, Sawitri Thayansin
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8753
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดี กลวิธีการจัดการของชุมชน ปัจจัยและตัวชี้วัดการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดําเนินการวิจัย: คัดเลือกชุมชนตัวอย่างแบบเจาะจง 2 แห่ง คือ ชุมชนล็อค 4-5-6 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และชุมชน 30 กันยาพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์ระดับลึก สนทนากลุ่ม และสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างจาก 2 ชุมชนๆ ละเท่ากัน คือ ผู้ป่วยสูงอายุ 4 คน ผู้ดูแลหลัก 4 คน เพื่อนบ้านที่เป็นผู้สูงอายุในชุมชน 4 คน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.)/ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) 2 คน ผู้นําชุมชน 1 คน ประธานชมรมผู้สูงอายุ 1 คน อสส./ อสม. 8 คน พยาบาล 2 คนและชาวบ้านในชุมชน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปประเด็นสําคัญ ผลการวิจัย: ตัวแบบที่ดีของชุมชนล็อค 4-5-6 คือ ศูนย์กายภาพบําบัดชุมชน ตัวแบบที่ดีของชุมชน 30 กันยาพัฒนา คือ ระบบประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพของเครือข่ายการดูแล กลวิธีการจัดการของชุมชน คือ การให้บริการด้านสุขภาพกับการบริการด้านสังคม แบบบูรณาการ แบบเชิงรุก ครอบคลุมและทั่วถึง ปัจจัยส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่ดี คือ ศักยภาพของชุมชน มีระบบสนับสนุนที่ดี และมีผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบ ตัวชี้วัดการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชน คือ มีผู้นําเข้มแข็งและกรรมการทํางานเป็นทีม มีระบบสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ได้รับบริการทั้งด้านสุขภาพและด้านสังคมและมีฐานข้อมูลครอบคลุม สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชน ควรพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านภาวะผู้นําและการทํางานเป็นทีม ภาครัฐและภาคเอกชนควรประสานความร่วมมือกับชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งจัดทําฐาน ข้อมูลผู้สูงอายุ