ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsis

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis ที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก กับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่า...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, Pensri Onswadipong, กรองกาญจน์ สังกาศ, Krongkan Sungkard, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธย, Sasima Kusuma Na Ayuthya, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง, Yong Rongrungruan
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8800
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis ที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก กับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นกลุ่มอาการ sepsis และเข้าพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน จํานวน 70 ราย แบ่งกลุ่มละ 35 ราย ด้วยวิธีจับฉลาก กลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกและกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือสําหรับใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลแบบมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกของกลุ่มอาการ Sepsis 2 แบบประเมินอวัยวะล้มเหลว “SOFA score” วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย: พบว่าเมื่อครบ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก มีคะแนนเฉลี่ย SOFA score น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ป่วยที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 11 อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 2.86 สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้กิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก ในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis สามารถช่วยชะลอความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรตระหนักถึงความสําคัญ และนํากิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกไปใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis ทุกราย