Development of an STS-based learning unit on biocontrol for secondary school students

งานวิจัยครั้งนี้ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS approach) มาพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การควบคุมโดยชีววิธี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโดยชีววิธี และผลกระทบของสารเคมีในการเกษต...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Kanrawee Pewnim
Other Authors: Watcharee Ketpichainarong
Language:English
Published: Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center 2023
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/89406
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: English
Description
Summary:งานวิจัยครั้งนี้ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS approach) มาพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การควบคุมโดยชีววิธี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโดยชีววิธี และผลกระทบของสารเคมีในการเกษตรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสร้างทัศนคติทีดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นี้ได้รับ ความร่วมมือจากครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก 5 โรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน (ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการควบคุม แมลงและโรคพืชโดยชีววิธี และการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตร) เกษตรกร ผู้ปกครองนักเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิทยาศาสตร์ศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ จากนั้นครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก 5 โรงเรียน ได้นำหน่วยการเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้จัดการ เรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 357 คน โดยเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาปัญหาจริงที่พบในชุมชน ฝึกวิเคราะห์ ปัญหาในชุมชนร่วมกับเพื่อน ครู และเกษตรกร จากนั้นเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับวิธี ชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหา ของชุมชน และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาถ่ายทอดสู่ชุมชนของตนเอง ในรูปแบบของแนวคิดและการ ปฏิบัติโดยเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในการศึกษานี้ได้ประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้โดยการผสมผสานระหว่างการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเรื่องการควบคุม โดยชีววิธี แบบทดสอบวัดทักษะการทดลอง แผนผังมโนทัศน์ แบบสอบถามทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามความ พึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหน่วยการเรียนรู้ของครู ส่วนวิธีการในการประเมิน เชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ ผลงานของนักเรียน และการสังเกตการณ์ในห้องเรียน ผลการประเมินประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการควบคุมโดย ชีววิธี มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน และมีความพึงพอใจต่อการเรียนจาก หน่วยการเรียนรู้เรื่องการควบคุมโดยชีววิธี สำหรับครูมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยการเรียนรู้เรื่องการควบคุมโดยชีววิธี และหน่วย การเรียนรู้นี้มีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในเนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม