เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน
ภายหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 สำนักงานฯ ได้จัดการประชุมประจำปี 2555 ของ สศช. ภายใต้หัวข้...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13872 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | ภายหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 สำนักงานฯ ได้จัดการประชุมประจำปี 2555 ของ สศช. ภายใต้หัวข้อเรื่อง “อนาคตประเทศไทยบนเส้นทางสีเขียว” เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทยเกิดความตระหนักของการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของโอกาสที่เป็นธรรมและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่คำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนสู่สังคมที่เป็นรูปธรรมและบูรณาการจากภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ซึ่งต่อมาได้รับการบรรจุเป็นแนวทางหลักของยุทธศาสตร์ประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และใช้เป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 ของประเทศ สำหรับการประชุมประจำปี 2556 นี้ สำนักงานฯ ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมการพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เนื่องจากความเชื่อมโยงและบทบาทของประชาคมอาเซียนจะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต การกำหนดและขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาประเทศของไทยจึงไม่สามารถจำกัดอยู่ภายในขอบเขตของประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องขยายไปสู่การพิจารณาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคด้วย โดยการประชุมประจำปี 2556 ของสำนักงานฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การติดตามความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน 3 เสาหลักได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และระดมความคิดเห็นของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชน ในการกำหนดแนวทางดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป |
---|