การรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลหลักต่อการอนุรักษ์ปลาที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ กรณีศึกษาลาดุกลำพัน ในพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปลาดุกลาพันเป็นปลาที่มีความจาเพาะในถิ่นที่อยู่อาศัยแบบพรุดั้งเดิมและอยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อการอนุรักษ์ปลาดุกลาพันที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การอนุรักษ์ปลาดุกลาพัน...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | th_TH |
Published: |
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
2016
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15152 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | ปลาดุกลาพันเป็นปลาที่มีความจาเพาะในถิ่นที่อยู่อาศัยแบบพรุดั้งเดิมและอยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อการอนุรักษ์ปลาดุกลาพันที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การอนุรักษ์ปลาดุกลาพัน ที่ส่งผลต่อการปรับตัวของชุมชนในการจัดการอนุรักษ์ปลาดุกลาพันที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่พรุควนเคร็ง ใช้วิธีการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (Structured interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน 11 คน ผลการศึกษา พบว่า ระดับการรับรู้ต่อการอนุรักษ์ปลาดุกลาพันในพื้นที่พรุควนเคร็งอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 45.45 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อการรับรู้การอนุรักษ์ปลาดุกลาพัน คือ การศึกษา ประสบการณ์ ทัศนคติในการอนุรักษ์ความรู้ในการอนุรักษ์ และการได้รับข่าวสารการอนุรักษ์ มีผลต่อการอนุรักษ์ปลาดุกลาพันในพื้นที่พรุควนเคร็ง |
---|