โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) ปีงบประมาณ 2558
โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ริเริ่มและกำหนดให้เป็นโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งการจัดทำโครงการเมืองเกษตรสีเขียว ได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายจากจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกับ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเ...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15183 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ริเริ่มและกำหนดให้เป็นโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งการจัดทำโครงการเมืองเกษตรสีเขียว ได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายจากจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกับ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเกษตรเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง โดยมีจังหวัดเป้าหมายในภูมิภาคต่างๆ 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ศรีสะเกษ หนองคาย จันทบุรี ราชบุรี และพัทลุง โดยดำเนินการให้มีกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรสีเขียว (Green and Cool Agriculture Economy) อาทิ การนำของเหลือจากกระบวนการผลิตมาผลิตเป็นพลังงานชีวมวล
หรือ ไบโอแมส (Biomass) และการลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) รวมถึงกำกับดูแลโรงงานการผลิตและแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร (GMP) มุ่งเน้นในการสร้างความร่วมมือกับจังหวัดและภาคส่วนต่างๆในจังหวัด และคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้ศักยภาพจากการเป็นสินค้าเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อม (Agriculture Ecoproducts)ทั้งนี้ การดำเนินงานตามขั้นตอนของกระบวนการผลิตดังกล่าว มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง การกำหนดนโยบายและวางแผนให้การดำเนินงานเกิดการบูรณาการของทุกภาคส่วน ตั้งแต่กระบวนผลิตในระดับต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ให้มีการสอดคล้อง เชื่อมโยง และเป็นไปในแนวเดียวกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตร จะต้องกำหนดกรอบนโยบายและสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปแปลงแผนสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาเครือข่ายการผลิต (Cluster) สินค้าเกษตรนั้นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยที่เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน |
---|