โครงการสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ) จังหวัดพัทลุง ปี 2557

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ต่างๆ ได้ทรงเล็งเห็นสภาพความเป็นอยู่ ที่ยากจนของเกษตรกร ปัญหาความเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชูชีพ, วรรธนะเพียร, สมนึก, คงชู, กฤษณชนม์, เทพเกลี้ยง
Format: Other
Language:th_TH
Published: สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15184
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ต่างๆ ได้ทรงเล็งเห็นสภาพความเป็นอยู่ ที่ยากจนของเกษตรกร ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ ที่ดินทำกินขาดความรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ แก่ราษฎรที่ประสบปัญหา โดยเน้นให้ผล การดำเนินงาน ตกถึงมือราษฎรโดยตรงเป็นเบื้องแรกให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง “พออยู่พอกิน” และขณะเดียวกันก็เป็นการปูพื้นฐานไว้สำหรับ “ความกินดีอยู่ดี” ต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้น จึงมีลักษณะของการมองผลสำเร็จที่เป็นการคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน นอกจากนี้ยังทรงมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสูงสุด เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โครงการสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาราษฎรผู้ยากไร้ให้มีฐานะความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น ซึ่งพื้นที่ดำเนินการโครงการส่วนใหญ่จะอยู่ห่างไกลจากชุมชนอยู่ในเขตทุรกันดาร การเข้าไปพัฒนาการเกษตรของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยมีหลักการสำคัญ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นขั้นตอนตามลำดับความจำเป็น ประหยัด การพึ่งตนเองส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน สามารถวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกรได้ด้วย