โครงการส่งเสริมเคหกิจเกษตร
ความมั่นคงด้านอาหารได้กลายเป็นปัญหาใหม่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ความมั่นคงทางด้านอาหาร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) ได้ระบุว่า ความมั่นคงทางด้านอาหารได้แก่ ความพอเพียงของปริมาณอาหารในคุณภาพที่เหมาะสม และมีโภชนาการและใช้ประโยชน์ด้านอาหารเพื่อที่จะเข้าถึงภาวะความเ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15188 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | ความมั่นคงด้านอาหารได้กลายเป็นปัญหาใหม่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ความมั่นคงทางด้านอาหาร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) ได้ระบุว่า ความมั่นคงทางด้านอาหารได้แก่ ความพอเพียงของปริมาณอาหารในคุณภาพที่เหมาะสม และมีโภชนาการและใช้ประโยชน์ด้านอาหารเพื่อที่จะเข้าถึงภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของโภชนาการและมีเสถียรภาพทางอาหาร การผลิตอาหารให้ปลอดภัยและเพียงพอกับความต้องการที่จะบริโภคอาหารของสมาชิกภายในครอบครัว จากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางด้านอาหารและความปลอดภัย ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหา ภาวะทุพโภชนาการและโภชนาการเกินในอนาคตมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้น การส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรเพื่อเป็นอาหารและวัตถุดิบเบื้องต้นจนถึงปลายทางผู้บริโภคนั้น ในการผลิตจะพิจารณาเพียงว่าต้องผลิตอาหารเท่าไหร่ จึงจะมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการบริโภคไม่ได้ หากแต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่า อาหารที่ผลิตได้นั้นต้องมีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างสมดุลและต้องเป็นอาหารที่ปลอดภัยในการประกอบอาหารสำหรับผู้บริโภคจะมีสุขภาวะที่ดีได้ ต้องอาศัยระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน หรือ ระบบอาหารที่ยั่งยืนคือเส้นทางความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร จะต้องดำเนินการหลายกิจกรรม กล่าวคือ ตั้งแต่ การผลิต การปรุงประกอบอาหาร ถนอมอาหาร การจัดเลี้ยง การจัดหา/สำรองอาหารในภาวะปกติและยามวิกฤต การใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารตลอดจนการจัดทำบ้านเกษตรสมบูรณ์ในแต่ละกิจกรรมต้องมีผลต่อเกษตรกรในการบริโภคอาหาร ทั้งปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกในครัวเรือนเพื่อให้คุณภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ดังนั้น การจัดทำโครงการเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหารในครัวเรือนชุมชน จะทำให้สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย อันจะส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรและชุมชนมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอครบถ้วนตามหลักโภชนาการในทุกสถานการณ์ |
---|