ศึกษาการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแค

กลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแค เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 2539 โดยตั้งสำนักงานกลุ่มที่ 184 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นบ้านของผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 คือ นายลอย ขุนเศษ และมีตำแหน่งเป็นกรรมการกลุ่มโดยมีสมาชิกแรกจัดตั้ง 35 คน มีทุนเรือนหุ้น 1,850 บาท และประธานคนแร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สัมพันธ์, เดชะเทศ
Format: Other
Language:th_TH
Published: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2016
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15199
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:กลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแค เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 2539 โดยตั้งสำนักงานกลุ่มที่ 184 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นบ้านของผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 คือ นายลอย ขุนเศษ และมีตำแหน่งเป็นกรรมการกลุ่มโดยมีสมาชิกแรกจัดตั้ง 35 คน มีทุนเรือนหุ้น 1,850 บาท และประธานคนแรกคือ นายเขียน วงศ์จันทร์ ปัจจุบันกลุ่มได้ย้ายมาตั้งสำนักงานอยู่ที่หมู่ 11 มีสมาชิกทั้งสิ้น 450 คน ทุนเรือนหุ้น 199,400 บาท มีพื้นที่ทำหารเกษตร จำนวน 24,375 ไร่ แบ่งเป็นเพาปลูกข้าว 15,845 ไร่ (60%) ปลูกยางพารา 4,875 ไร่ (20%) สวนไม้ผลยืนต้น 1,218 ไร่(5%) พืชไร่และพืชผัก 1,218 ไร่ (5%) และเลี้ยงสัตว์ 1,218 ไร่ (5%) คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแคประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่ม 5 คน หน่วยเกษตรกรรม 16 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 3 คน พนักงานขาย 3 คน ผู้จัดการ 1 คน มีทุนดำเนินงาน 1,421,110 บาท มีทรัพย์สินถาวรได้แก่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง จำนวน 3,762,500 บาท ในการพัฒนาของกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาท่าแค พบว่า กลุ่มได้ดำเนินการจัดหาสิ่งของมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อุปกรณ์การเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค รวมเป็นมูลค่า 516,162 บาท ได้รวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกของสมาชิกเพื่อชะลอการจำหน่าย จำนวน 250 ตัน ให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกระหว่างปี 734,022 บาท รับเงินฝากจากสมาชิก 430,162 บาท จัดประชุมสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และนำสมาชิกไปทัศนศึกษาดูงานการพัฒนาการเกษตรเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกได้นำความรู้และประสบการณ์มาใช้พัฒนาการผลิตของตนเอง กลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแคได้ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรอื่น ๆ เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เยาวชนเกษตร และกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงโค นอกจากนั้นยังเป็นแกนในการส่งเสริมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาแก่สมาชิกของชุมชนอีกด้วย การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแค ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและชุมชนตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงอย่างมาก การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่ม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้คือ เพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การรวมกันซื้อปัจจัยการผลิตการเกษตร การรวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกของสมาชิกเพื่อจำหน่าย การส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้แก่สมาชิก การส่งเสริมและสนับสนุนกิจการสาธารณประโยชน์ การส่งเสริมด้านสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมออมทรัพย์และการให้บริการสินเชื่อการเกษตรแก่สมาชิก เป็นกิจการที่มุ่งส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือให้สมาชิกสามารถพัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตร ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มและดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติ โครงสร้างการบริหารงาน บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มและความร่วมมือของสมาชิกกลุ่ม มีความเหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกลุ่มในระดับที่อาจถือเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากภาคราชการและเอกชนเพิ่มเติมทั้งในด้านเงินทุนและวัสดุอุปกรณ์ กลุ่มเกษตรกรทำนาท่าแคจะเป็นสถาบันเกษตรกรที่เป็นที่พึ่งของชุมชนตำบลท่าแค และเป็นสถาบันเกษตรกรที่จะให้กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ ใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี