โครงการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านสู่ความเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายปฏิรูปการเกษตรของประเทศไทย (ปี2556 – 2561) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ โดยกำหนดโครงการที่เป็น Flagship Project จำนวน 8 โครงการ เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโครงการพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer เป็น 1 ใน 8 โครงการสำคัญ ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15223 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายปฏิรูปการเกษตรของประเทศไทย (ปี2556 – 2561) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ โดยกำหนดโครงการที่เป็น Flagship Project จำนวน 8 โครงการ เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโครงการพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer เป็น 1 ใน 8 โครงการสำคัญ ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนาทั้งประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการเกษตรและประโยชน์เพื่อเกษตรกรที่จะได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ในปัจจุบันเกษตรกรยังมีผลผลิตคุณภาพต่ำ บางส่วนมีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรทั่วประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่และข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด เพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับวางแผนการผลิต ตลอดจนการขาดความรู้ในด้านการรักษาคุณภาพหรือพัฒนาผลผลิตให้เป็นสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน จึงต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกษตรไทยเป็น Smart Farmer คือ มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร |
---|