ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรที่ทำนาปัง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การทำนาปรังและผลผลิตที่ได้ ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหา รวมทั้งทัศนคติของเกษตรการที่มีต่อการทำนาปรัง ประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษามีจำนวน 134 คน ได้จากการสุ่มตัวอย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ไสว, เพ็งมาก
Format: Other
Language:th_TH
Published: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2016
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15227
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
id th-psu.2016-15227
record_format dspace
institution Prince of Songkhla University
building Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center
continent Asia
country Thailand
Thailand
content_provider Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center
collection PSU Knowledge Bank
language th_TH
topic การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
ความไม่มั่นคงทางอาหาร
สงขลา
spellingShingle การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
ความไม่มั่นคงทางอาหาร
สงขลา
ไสว, เพ็งมาก
ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
description การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรที่ทำนาปัง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การทำนาปรังและผลผลิตที่ได้ ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหา รวมทั้งทัศนคติของเกษตรการที่มีต่อการทำนาปรัง ประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษามีจำนวน 134 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเกษตรกรทั้งหมด 564 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ได้สร้างขึ้นในการเก็บข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนมากเป็นชายจำนวนร้อยละ 81.34 จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ถึงจำนวนร้อยละ 82.09 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยครอบครัวละ 6.63 คน แต่มีจำนวนสมาชิกที่เป็นแรงงานในการทำนาเฉลี่ยเพียงครอบครัวละ 2.63 คน เกษตรกรที่ทำนาเป็นอาชีพหลักมีจำนวนถึงร้อยละ 99.25 และมีอาชีพรองคือการเลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และทำการประมง เกษตรกรร้อยละ 47.02 มีที่ดินเป็นของตนเอง รายได้ของเกษตรกรจำนวนร้อยละ 41.05 มีจำนวน 3,001-10,000 บาทต่อปี และเกษตรกรจำนวนร้อยละ 70.89 เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มอื่นๆ การเริ่มต้นทำนาปรังของเกษตรกรนั้นได้พบว่า เกษตรกรจำนวนร้อยละ 10.45 ได้เริ่มทำนาปรังมาก่อน พ.ศ.2518 แต่มีเกษตรกรที่เริ่มทำนาปรังใน พ.ศ.2520 จำนวนมากถึงร้อยละ 31.34 เกษตรกรจำนวนร้อยละ 95.52 ทำนาปรังในพื้นที่ที่ทำนาปี ผลผลิตที่ได้ทั้งสี่ปี (พ.ศ.2518-2521) ส่วนมากมีปริมาณ 31-40 ถังต่อไร่ ปัญหาการทำนาปรังของเกษตรกรส่วนมากคือปัญหาการใช้น้ำชลประทานมีจำนวนถึงร้อยละ 55.22 ส่วนมากเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่ส่งเข้ามามีความเค็มมากไป ส่วนเกษตรกรที่ไม่ใช้น้ำชลประทานเพื่อการทำนาปรังจำนวนร้อยละ 43.29 มีปัญหาเกี่ยวกับมีน้ำไม่พอใช้ พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกมากคือ กข.7 เกษตรกรส่วนมากจำนวนร้อยละ 58.96 ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว แต่กมีเกษตรกรจำนวนร้อยละ 41.04 ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหาพันธุ์ข้าวยาก เกษตรกรที่ทำการศึกษาทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนาปรัง มีปัญหาเกี่ยวกับปุ๋ยถึงร้อยละ 87.31 และปัญหาที่มีมากที่สุดคือปุ๋ยราคาแพง เกษตรกรที่ทำนาปรับทุกคนประสบปัญหาศัตรูข้าว ศัตรูอันดับหนึ่งคือหนู รองลงมาคือแมลงและนก ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 52.24 มีปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์-เครื่องทุ่นแรง ปัญหาที่มีมากที่สุดคือน้ำมันแพง บุคคลที่เกษตรกรจะไปปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องน้ำชลประทานก็คือ เจ้าหน้าที่ชลประทาน เจ้าหน้าที่เกษตร และผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยแก้ไข สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาเรื่องน้ำใช้ทำนาปรังนั้น เกษตรกรจำนวนร้อยละ 32.84 เสนอแนะให้เจาะน้ำบาดาลเมื่อมีปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว เกษตรกรถึงร้อยละ 70.15 ไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าวมีจำนวนถึงร้อยละ 71.64 ส่วนเกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะเพียงมีเพียงจำนวนร้อยละ 14.93 ส่วนมากเสนอแนะให้รัฐจัดหาและแนะนำข้าวพันธุ์ดีให้ เมื่อมีปัญหาเรื่องปุ๋ย เกษตรกรจำนวนร้อยละ 55.22 ไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องนี้เกษตรกรจำนวนร้อยละ 51.49 ไม่มีข้อเสนอแนะ แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 19.40 ที่มีข้อเสนอแนะให้รัฐควบคุมราคาปุ๋ย ในกรณีที่เกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวกับข้าว จะไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตรกรจำนวนร้อยละ 90.30 สำหรับข้อเสนอแนะเรื่องนี้เกษตรกรไม่มีข้อเสนอแนะถึงร้อยละ 45.52 แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 32.09 ที่เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่แจกยาปราบศตรูข้าวให้ทั่วถึง และจำนวนร้อยละ 11.19 เสนอให้เกษตรกรร่วมกันปราบ สำหรับวิธีการปราบนกศัตรูพืชที่เกษตรกรปฏิบัติได้ผลคือเฝ้าคอยไล่ สำหรับหนูคือใช้ยาเบื่อและขุดรูไล่ตี ส่วนการปราบแมลงใช้วิธีการฉีดพ่นยาเมื่อแมลงระบาด สำหรับวัชพืชใช้วิธีถอนทิ้ง และเมื่อข้าวเป็นโรค เกษตรกรใช้สารเคมีที่เป็นยาฉีดพ่น ในกรณีที่เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องทุ่นแรง เกษตรกรจำนวนร้อยละ 32.09 ไปขอคำแนะนำจากเพื่อนบ้าน เกษตรกรจำนวนร้อยละ 79.11 ไม่มีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 11.94 ที่มีข้อเสนอแนะให้แก้ปัญหาโดยการใช้แรงงานสัตว์เพิ่มขึ้นแทนเครื่องจักรกล เกษตรกรที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำนาปรังเพราะให้ผลผลิตเร็วมากที่สุด รองลงมาคือนิยมทำนาปรังเมื่อมีน้ำเพียงพอ และข้าวนาปรังให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวนาปี ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาในการทำนาปรังคือ ควรมีการวางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัด ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้น้ำที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการอนุรักษ์แหล่งน้ำและคุณภาพของดิน นอกจากนั้นควรศึกษาหาพลังงานอื่นมาทดแทนน้ำมัน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ และควรมีการส่งเสริมการทำนาหว่านน้ำตม ซึ่งเป็นการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงอีกด้วย
format Other
author ไสว, เพ็งมาก
author_facet ไสว, เพ็งมาก
author_sort ไสว, เพ็งมาก
title ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
title_short ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
title_full ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
title_fullStr ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
title_full_unstemmed ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
title_sort ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
publisher กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
publishDate 2016
url http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15227
_version_ 1707054231035314176
spelling th-psu.2016-152272021-07-21T07:36:52Z ปัญหาการเพิ่มผลผลิตการทำนาปรังในตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ไสว, เพ็งมาก การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ความไม่มั่นคงทางอาหาร สงขลา การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรที่ทำนาปัง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การทำนาปรังและผลผลิตที่ได้ ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหา รวมทั้งทัศนคติของเกษตรการที่มีต่อการทำนาปรัง ประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษามีจำนวน 134 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเกษตรกรทั้งหมด 564 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ได้สร้างขึ้นในการเก็บข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนมากเป็นชายจำนวนร้อยละ 81.34 จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ถึงจำนวนร้อยละ 82.09 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยครอบครัวละ 6.63 คน แต่มีจำนวนสมาชิกที่เป็นแรงงานในการทำนาเฉลี่ยเพียงครอบครัวละ 2.63 คน เกษตรกรที่ทำนาเป็นอาชีพหลักมีจำนวนถึงร้อยละ 99.25 และมีอาชีพรองคือการเลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และทำการประมง เกษตรกรร้อยละ 47.02 มีที่ดินเป็นของตนเอง รายได้ของเกษตรกรจำนวนร้อยละ 41.05 มีจำนวน 3,001-10,000 บาทต่อปี และเกษตรกรจำนวนร้อยละ 70.89 เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มอื่นๆ การเริ่มต้นทำนาปรังของเกษตรกรนั้นได้พบว่า เกษตรกรจำนวนร้อยละ 10.45 ได้เริ่มทำนาปรังมาก่อน พ.ศ.2518 แต่มีเกษตรกรที่เริ่มทำนาปรังใน พ.ศ.2520 จำนวนมากถึงร้อยละ 31.34 เกษตรกรจำนวนร้อยละ 95.52 ทำนาปรังในพื้นที่ที่ทำนาปี ผลผลิตที่ได้ทั้งสี่ปี (พ.ศ.2518-2521) ส่วนมากมีปริมาณ 31-40 ถังต่อไร่ ปัญหาการทำนาปรังของเกษตรกรส่วนมากคือปัญหาการใช้น้ำชลประทานมีจำนวนถึงร้อยละ 55.22 ส่วนมากเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่ส่งเข้ามามีความเค็มมากไป ส่วนเกษตรกรที่ไม่ใช้น้ำชลประทานเพื่อการทำนาปรังจำนวนร้อยละ 43.29 มีปัญหาเกี่ยวกับมีน้ำไม่พอใช้ พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกมากคือ กข.7 เกษตรกรส่วนมากจำนวนร้อยละ 58.96 ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว แต่กมีเกษตรกรจำนวนร้อยละ 41.04 ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหาพันธุ์ข้าวยาก เกษตรกรที่ทำการศึกษาทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนาปรัง มีปัญหาเกี่ยวกับปุ๋ยถึงร้อยละ 87.31 และปัญหาที่มีมากที่สุดคือปุ๋ยราคาแพง เกษตรกรที่ทำนาปรับทุกคนประสบปัญหาศัตรูข้าว ศัตรูอันดับหนึ่งคือหนู รองลงมาคือแมลงและนก ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 52.24 มีปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์-เครื่องทุ่นแรง ปัญหาที่มีมากที่สุดคือน้ำมันแพง บุคคลที่เกษตรกรจะไปปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องน้ำชลประทานก็คือ เจ้าหน้าที่ชลประทาน เจ้าหน้าที่เกษตร และผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยแก้ไข สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาเรื่องน้ำใช้ทำนาปรังนั้น เกษตรกรจำนวนร้อยละ 32.84 เสนอแนะให้เจาะน้ำบาดาลเมื่อมีปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว เกษตรกรถึงร้อยละ 70.15 ไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าวมีจำนวนถึงร้อยละ 71.64 ส่วนเกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะเพียงมีเพียงจำนวนร้อยละ 14.93 ส่วนมากเสนอแนะให้รัฐจัดหาและแนะนำข้าวพันธุ์ดีให้ เมื่อมีปัญหาเรื่องปุ๋ย เกษตรกรจำนวนร้อยละ 55.22 ไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องนี้เกษตรกรจำนวนร้อยละ 51.49 ไม่มีข้อเสนอแนะ แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 19.40 ที่มีข้อเสนอแนะให้รัฐควบคุมราคาปุ๋ย ในกรณีที่เกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวกับข้าว จะไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตรกรจำนวนร้อยละ 90.30 สำหรับข้อเสนอแนะเรื่องนี้เกษตรกรไม่มีข้อเสนอแนะถึงร้อยละ 45.52 แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 32.09 ที่เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่แจกยาปราบศตรูข้าวให้ทั่วถึง และจำนวนร้อยละ 11.19 เสนอให้เกษตรกรร่วมกันปราบ สำหรับวิธีการปราบนกศัตรูพืชที่เกษตรกรปฏิบัติได้ผลคือเฝ้าคอยไล่ สำหรับหนูคือใช้ยาเบื่อและขุดรูไล่ตี ส่วนการปราบแมลงใช้วิธีการฉีดพ่นยาเมื่อแมลงระบาด สำหรับวัชพืชใช้วิธีถอนทิ้ง และเมื่อข้าวเป็นโรค เกษตรกรใช้สารเคมีที่เป็นยาฉีดพ่น ในกรณีที่เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องทุ่นแรง เกษตรกรจำนวนร้อยละ 32.09 ไปขอคำแนะนำจากเพื่อนบ้าน เกษตรกรจำนวนร้อยละ 79.11 ไม่มีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่มีเกษตรกรจำนวนเพียงร้อยละ 11.94 ที่มีข้อเสนอแนะให้แก้ปัญหาโดยการใช้แรงงานสัตว์เพิ่มขึ้นแทนเครื่องจักรกล เกษตรกรที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำนาปรังเพราะให้ผลผลิตเร็วมากที่สุด รองลงมาคือนิยมทำนาปรังเมื่อมีน้ำเพียงพอ และข้าวนาปรังให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวนาปี ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาในการทำนาปรังคือ ควรมีการวางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัด ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้น้ำที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการอนุรักษ์แหล่งน้ำและคุณภาพของดิน นอกจากนั้นควรศึกษาหาพลังงานอื่นมาทดแทนน้ำมัน เช่น ลม และแสงอาทิตย์ และควรมีการส่งเสริมการทำนาหว่านน้ำตม ซึ่งเป็นการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงอีกด้วย 2016-01-15T09:15:40Z 2021-05-17T11:22:48Z 2016-01-15T09:15:40Z 2021-05-17T11:22:48Z 1980 Other http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15227 th_TH application/vnd.openxmlformats-officedocument.wordprocessingml.document กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย