การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียวหมู่ที่ 3 ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
การศึกษาเรื่องการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติ ของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (2) ศึกษาสถานภาพ ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (3) ศึกษาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (4) ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (5) ศึกษาปั...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
2016
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15237 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | การศึกษาเรื่องการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติ ของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (2) ศึกษาสถานภาพ ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (3) ศึกษาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (4) ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (5) ศึกษาปัญหาการดำเนินงาน แนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (6) ศึกษาแนวทางพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ สมาชิกทุกราย รวม 61 ราย ระยะเวลาศึกษาเดือนสิงหาคม 2552 ถึงเดือนธันวาคม 2552 สรุปผลการศึกษา ดังนี้ (1) ประวัติของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว มาจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลำสินธุ์ ได้ยื่นขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี 2548 เปลี่ยนชื่อเป็นวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว (2) ข้อมูลสถานภาพ เศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก ส่วนใหญ่พบว่า สมาชิกเป็นเพศหญิง มีอาชีพหลักทำสวนยางพารา มีที่ดินเป็นของตนเอง ครอบครัวสมาชิกมีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี แรงงานในครอบครัว 2 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 4 ปีขึ้นไป (3) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนป่าเขียว ดังนี้ การศึกษาศักยภาพกลุ่ม ได้แก่ จัดเก็บข้อมูลและประเมินศักยภาพกลุ่ม การจัดทำแผนปฏิบัติงาน ได้แก่ จัดทำแผนพัฒนา 3 ปีและแผนการผลิตประจำปี การดำเนินงานตามแผน ได้แก่ การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบและการจัดการเรียนรู้ การติดตามประเมินผล ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่ม การติดตามของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ การได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบการเรียนรู้ระดับจังหวัดของจังหวัดพัทลุง (4) การบริหารจัดการกลุ่ม ได้แก่ ด้านองค์กร มีคณะกรรมการบริหาร 1 คณะคณะกรรมการสาขา 2 คณะ คณะที่ปรึกษา 1 คณะ และมีสมาชิก 61 ราย ด้านการผลิตและบริการ มีการดำเนินการ 4 กิจการ ดังนี้ การแปรรูปผลผลิตเกษตร ได้แก่ กล้วยไข่กรอบแก้ว และลูกหยีสามรส การจัดทำศิลปประดิษฐ์ ได้แก่ พวงหรีด ดอกไม้จันทน์และดอกไม้แห้งจากผ้าใยบัว การออมทรัพย์ ได้แก่ รับฝากเงินและบริการเงินกู้แก่สมาชิกทุกเดือน และโฮมสเตย์ ได้แก่ จัดบริการบ้านพัก 4 หลัง ด้านการตลาด ตลาดในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่นใน14 จังหวัดภาคใต้ และตลาดต่างประเทศ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา ด้านการเงิน ได้แก่ หุ้นสมาชิก เงินออมทรัพย์ เงินกู้ และงบประมาณที่หน่วยงานต่างๆสนับสนุน ด้านการบัญชี มีการจัดทำบัญชี 2 กิจการ ด้านจัดสวัสดิการ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าพวงหรีดงานศพสมาชิก และบริจาคเงิน สำหรับความคิดเห็นสมาชิกในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกลุ่ม สมาชิกได้เห็นด้วยทุกประเด็น (4) ปัญหาที่สำคัญของกลุ่ม คือ วัตถุดิบบางฤดูกาลไม่เพียงพอ และยังไม่สามารถจัดงบดุลบัญชีได้ ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ รณรงค์ให้สมาชิกปลูกกล้วยไข่เพิ่มเติมและเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายกว่าเดิม (5) แนวทางพัฒนาที่สำคัญ คือ ขยายโรงเรือนแปรรูปให้กว้างกว่าเดิม และอบรมบัญชีแก่คณะกรรมการให้จัดทำงบดุลได้ |
---|