โครงการลดความเสี่ยงเกษตรกรจากการระบาดศัตรูพืช จังหวัดพัทลุง ปี 2557

การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ ลักษณะปลูกพืชที่เป็นพื้นที่กว้างติดต่อกันนาน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปริมาณมาก ทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติตาย ศัตรูพืชกลับมาระบาดซ้ำได้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ศัตรู...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พัชนีกูล, บุญแสง, วิมล, สิงหะพล
Format: Other
Language:th_TH
Published: สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15243
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ ลักษณะปลูกพืชที่เป็นพื้นที่กว้างติดต่อกันนาน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปริมาณมาก ทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติตาย ศัตรูพืชกลับมาระบาดซ้ำได้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ศัตรูพืชขยายปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้ต้านทานทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ การลักลอบนำชิ้นส่วนของพืชเข้าประเทศมาโดยผิดกฎหมาย ทำให้มีศัตรูพืชต่างถิ่นเข้ามาระบาดในประเทศไทยดังที่เคยปรากฏมาแล้ว ได้แก่ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู หนอนหัวดำ และแมลงดำหนามมะพร้าว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรสามารถรับมือกับภัยพิบัติด้านศัตรูพืชนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่การเกษตรของตน เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ทันก่อนที่จะเกิดการระบาดของศัตรูพืช และสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร ก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชให้กับเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ศัตรูพืชในปัจจุบัน และเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่อารักขาพืชเรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและการสำรวจสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืช เพื่อวินิจฉัย วิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมศัตรูโดยใช้วิธีผสมผสานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง