การศึกษาต้นทุนการผลิตนมและการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตในจังหวัดพัทลุง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตนมดิบ ประเมินขนาดฟาร์มที่เหมาะสมที่จะให้ฟาร์มมีกำไรสูงสุด และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในฟาร์มเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาของปัจจัยการผลิตที่สำคัญบางชนิด การวิจัยนี้ได้แบ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของธนาคารเพ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อยุทธ์, นิสสภา, สมยศ, ทุ่งหว้า
Format: Other
Language:th_TH
Published: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2016
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15245
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตนมดิบ ประเมินขนาดฟาร์มที่เหมาะสมที่จะให้ฟาร์มมีกำไรสูงสุด และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในฟาร์มเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาของปัจจัยการผลิตที่สำคัญบางชนิด การวิจัยนี้ได้แบ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ส่วนกลุ่มที่สองก็คือ เกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของธนาคารดังกล่าว หลังจากนั้นก็ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาเพื่อคัดเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในการสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้วิธีการร้อยละ ความถี่ และความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชั่น ซึ่งได้แก่ ฟังก์ชั่นต้นทุน และฟังก์ชั่นการผลิต ซึ่งในการประมาณฟังก์ชั่นนั้นใช้วิธีการแบบกำลังสองน้อยที่สุด จาการศึกษาพบว่า ลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก ดังนั้นจึงรวมเกษตรกรทั้งสองกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อศึกษาต้นทุนและความสัมพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากำไรที่เกษตรกรได้รับจากการผลิตน้ำนมดิบ 1 กิโลกรัมนั้นมีไม่มากนัก ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ และราคาที่ขายได้ก็เป็นราคาที่ควบคุม แนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นก็คือการเพิ่มการใช้อาหารข้น และลดการลงทุนทางด้านทรัพย์สินถาวรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคนมลง และเพื่อที่จะทำให้เกษตกรได้กำไรสูงสุดภายใต้โครงสร้างและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่นั้นเกษตรกรควรจะเพิ่มจำนวนโคที่ให้นมในฟาร์มให้มากขึ้น