โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดพัทลุง ปี 2557

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นสถาบันเกษตรกรภายใต้การดูแลส่งเสริมสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 20,242 กลุ่ม มีสมาชิก 515,950 คนทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้สตรีในภาคเกษตรในหมู่บ้าน ตำบลเดียวกันรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตามความสม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สมควร, วรรณรัตน์, ไพรวัลณ์, ชูใหม่, อรทัย, เพ็งประไพ
Format: Other
Language:th_TH
Published: สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15264
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นสถาบันเกษตรกรภายใต้การดูแลส่งเสริมสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 20,242 กลุ่ม มีสมาชิก 515,950 คนทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้สตรีในภาคเกษตรในหมู่บ้าน ตำบลเดียวกันรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตามความสมัครใจ เพื่อให้ร่วมกันใช้พลังความคิด กำลังกาย กำลังทรัพย์ และจิตใจ ในการปรับปรุง ยกระดับฐานะของสังคมเกษตรให้ดีขึ้นทุกวิถีทาง เป็นผู้ประกอบการเกษตรมีความรู้ ด้านการผลิตการจัดการ สามารถเข้าถึงบริการของรัฐ มีความรู้ด้านเคหกิจเกษตร ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ช่วยกันแก้ไขปัญหาสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการและมีโครงสร้างการประสานงานของกลุ่มตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และระดับประเทศ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีศักยภาพในการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปจนถึงเชิงธุรกิจ ทั้งยังช่วยผลักดันนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลอย่างได้ผลดี การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้นั้น เกษตรกรต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กรและชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับของการพึ่งพาตนเองและในระดับของการแข่งขัน กลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถไปสู่เป้าหมายดังกล่าว นั้นคือ การนำเอากระบวนการจัดตั้งกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่ม ในขั้นพื้นฐานไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่าย การมีส่วนร่วม การเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันการจัดการกับทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด การนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ตลอดจนการส่งเสริมระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักประกันทั้งทางด้านรายได้ให้กับเกษตรกรและความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน รวมถึงสนับสนุนให้เกิดผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีความสามารถ เข้ามามีส่วนร่วมในเวทีของการบริหารงานเกษตรในระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ/เพื่อการพัฒนา ทางการเกษตรและสังคมเกษตรกรอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน