การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนา ของครัวเรือนเกษตรกร ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกร โดยใช้วิธีการสังเกตและติดตามการปฏิบัติงานของเกษตรกรบางรายด้วยวิธีการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) หลังจากนั้นได้สุ่มตัวอย่างและออกสัมภาษณ์เกษตรกรโดยการใช้แบบสั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ศิริจิต, ทุ่งหว้า
Format: Other
Language:th_TH
Published: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2016
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15267
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกร โดยใช้วิธีการสังเกตและติดตามการปฏิบัติงานของเกษตรกรบางรายด้วยวิธีการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) หลังจากนั้นได้สุ่มตัวอย่างและออกสัมภาษณ์เกษตรกรโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาความสัมพันธ์ของตัวแปรในแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าความทันสมัยของวิธีการทำนาไม่ได้ทำให้ผลิตภาพของแรงงานเพิ่มขี้น จึงทำให้ครัวเรือนเกษตรกรส่วนมากมีผลิตภาพของแรงงานต่ำกว่าเส้นยังชีพ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกรคือการที่เกษตรกรมีพื้นที่นาที่มีระบบการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจัยทางด้านชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมทุกตัวแปรในงานวิจัยนี้ไม่มีผลต่อการยอมรับการใช้นวัตกรรมเลย ในแง่ของการแพร่กระจายทางนวัตกรรม พบว่าวิธีการส่งเสริมรายบุคคลผ่านทางเกษตรตำบลและเกษตรกรผู้นำมีอิทธิพลสูงสุดต่อการยอมรับนวัตกรรม ดังนั้นเกษตรตำบลที่มีความสามารถจะมีส่วนช่วยเสริมการยอมรับนวัตกรรมของเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาการเกษตรตามความต้องการของเกษตรกรให้ได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ทางการเกษตรให้ถูกต้องตามสภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะเป็นแนวทางชี้นำการเผยแพร่นวัตกรรมให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกรที่มีการทำนาเป็นอาชีพหลัก เพื่อเป็นแนวทางนำไปประกอบการวางแผนพัฒนาวิธีการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมตามความต้องการตามสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น