การทดสอบการปลูกถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ในภาคใต้
ถั่วลิสงที่ปลูกในภาคใต้เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำมานานแล้วคือพันธุ์ไทนาน 9 และพันธุ์ สข.38 ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงและได้รับรองพันธุ์หลายพันธุ์ โดยเฉพาะที่ใช้บริโภคฝักสด คือพันธุ์ขอนแก่น 60-2 และขอนแก่น 4 จึงได้ทำการทดสอบถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ที่แปลงเกษตรกร 5 แปลง ในจังหวั...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
2016
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15269 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | ถั่วลิสงที่ปลูกในภาคใต้เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำมานานแล้วคือพันธุ์ไทนาน 9 และพันธุ์ สข.38 ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงและได้รับรองพันธุ์หลายพันธุ์ โดยเฉพาะที่ใช้บริโภคฝักสด คือพันธุ์ขอนแก่น 60-2 และขอนแก่น 4 จึงได้ทำการทดสอบถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ที่แปลงเกษตรกร 5 แปลง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และปัตตานี ในปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเปรียบเทียบพันธุ์ถั่วลิสงระหว่างพันธุ์ที่เกษตรกรจากตลาดมาปลูก และพันธุ์ สข.38กับถั่วลิสงพันธุ์ใหม่(ขอนแก่น 60-2 และขอนแก่น 4) และประเมินการยอมรับของเกษตรกรต่อถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ โดยปลูกถั่วลิสงทั้ง 4 พันธุ์ในพื้นที่ 1 ไร่ เก็บข้อมูลจากน้ำหนักฝักสด จำนวนฝัก/ต้น และจำนวนเมล็ด/ฝัก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์วาเรียนซ์ โดยใช้การวางแผนการทดลองแบบ RCB(Randomized Complete Block Design) และใช้สถานที่ทดลองเป็นซ้ำ (Replication) ผลการทดสอบปรากฏว่าถั่วลิสงทั้ง 4พันธุ์ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-2 มีจำนวน 3 เมล็ด/ฝัก ส่วนพันธุ์อื่นมีจำนวน 2.5-2.6 เมล็ด/ฝัก ส่วนการยอมรับของเกษตรกรต่อถั่วลิสงพันธุ์ต่างๆพบว่าเกษตรกรพอใจมากที่สุดต่อถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ทั้ง 2พันธุ์ คือพันธุ์ขอนแก่น 4 และขอนแก่น 60-2 ส่วนพันธุ์แนะนำดั้งเดิมคือพันธุ์ สข.38 และพันธุ์ที่เกษตรกรซื้อจากตลาดมาปลูก เกษตรกรพอใจในระดับมากเท่านั้น |
---|