คู่มือการดำเนินงานการส่งเสริมการเษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ ปีงบประมาณ 2558
สถานการณ์ในปัจจุบันการผลิตสินค้าเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูงทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และต้นทุนการผลิตที่สูง ทำให้เกษตรกรรายย่อยประสบปัญหาในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ตลอดจนโอกาสการเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน ทรัพยากรและการตลาดได้น้อย และจากการที่เกษตรกรรายย่อยต่างคนต่างผลิต ทำให้ยา...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
กรมส่งเสริมการเกษตร
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15270 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | สถานการณ์ในปัจจุบันการผลิตสินค้าเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูงทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และต้นทุนการผลิตที่สูง ทำให้เกษตรกรรายย่อยประสบปัญหาในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ตลอดจนโอกาสการเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน ทรัพยากรและการตลาดได้น้อย และจากการที่เกษตรกรรายย่อยต่างคนต่างผลิต ทำให้ยากต่อการจัดการผลผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีนโยบายในเรื่องการจัดทำแปลงการเกษตรขนาดใหญ่ โดยให้เกษตรกรรายย่อยมีการรวมกลุ่มและรวมพื้นที่การผลิตเป็นแปลงขนาดใหญ่ ที่มีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการแปลง ตั้งแต่การวางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการผลิตสินค้าเกษตรจนถึงการตลาดที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการส่งเสริมการเกษตรที่ยึดพื้นที่ (Areabased) เป็นหลักในการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การดำเนินงานดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมการเพื่อรองรับการส่งเสริมการเกษตรในลักษณะแปลงใหญ่โดยได้นำวิธีการทำงานรูปแบบ MRCF system ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ด้วยกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม และใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา (Area - Based) มองเป้าหมาย พื้นที่-คน-สินค้า เข้าด้วยกัน โดยกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งได้แนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน โดยมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อชุมชน ในการพัฒนาเกษตรกรให้สามารถดำเนินการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาด รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในการสนับสนุนการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและรวมพื้นที่ดำเนินการในลักษณะแปลงขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงสมควรให้มีการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตสินค้าเกษตร การบริหารจัดการการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) รวมทั้งมีการบูรณาการของภาคทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรรายย่อย มีอำนาจการต่อรองในการจัดหาปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ในต้นทุนที่ต่ำลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
---|