ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพาราในดินชุดท่าแซะ

ผลผลิตน้้ายางขึ้นอยู่กับปัจจัยการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในสวนยางเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันมีการใส่ปุ๋ย หลายประเภทในสวนยาง ดังนั้น จึงทำการศึกษาผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และน้้าหมักชีวภาพร่วมกับการใส่ ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของยางพารา สมบัติทางเคมีและชีวภาพของดิน ตลอดทั้งผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ ณ บ้าน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: อุษา, ศรีใส
Format: Technical Report
Language:th_TH
Published: 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15504
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:ผลผลิตน้้ายางขึ้นอยู่กับปัจจัยการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในสวนยางเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันมีการใส่ปุ๋ย หลายประเภทในสวนยาง ดังนั้น จึงทำการศึกษาผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และน้้าหมักชีวภาพร่วมกับการใส่ ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของยางพารา สมบัติทางเคมีและชีวภาพของดิน ตลอดทั้งผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านนาป๋อง ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ทำการทดลอง 3 ปี วางแผนการ ทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 6 ต้ารับ 4 ซ้้า คือ 1) ควบคุม 2) ใส่ปุ๋ยเคมีเต็มอัตรา (สูตร 30-518 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี) 3) ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 4) ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ย อินทรีย์และน้้าหมักชีวภาพ 5) ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราร่วมกับน้้าหมักชีวภาพ และ 6) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์กับน้้าหมักชีวภาพ ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยในตำรับซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวมีค่าสูงสุดทั้ง 3 ปีการทดลอง (361.2, 331.2 และ 318.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ) และมีค่าใกล้เคียงกับตำรับ ซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้้าหมักชีวภาพ (331.1, 322.5 และ 303.7 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ใน ปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามล้าดับ) ในขณะที่ตำรับที่ไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด (202.0, 198.2 และ 217.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามล้าดับ) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีท้าให้ความเป็นกรด เป็นด่าง อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส ก้ามะถัน และจ้านวนแบคทีเรียรวมของดินสูงขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว รวมทั้งความเป็นประโยชน์ของธาตุไนโตรเจนในดินอยู่ได้นานกว่า สำหรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า ในตำรับซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีให้ผลตอบแทนสูงสุด เนื่องจากปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงดินและค่าแรงใส่ปุ๋ยน้อยกว่าปุ๋ย อินทรีย์ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมต้องเพิ่มค่าปุ๋ยและค่าแรง ท้าให้มีต้นทุนแพงขึ้นกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และน้้าหมักชีวภาพสามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในสวนยางได้ เพราะให้ผลผลิต ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินขึ้นอีกด้วย