เวทีวิจัยสัญจร : กระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จในการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

เวทีวิจัยสัญจร เป็น การจัดประชุมของนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อการพัฒนาการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ความคิด ความรู้ และประสบการณ์ในการทำการเกษตร โดยจัดประชุมที่บ้านเกษตรกรหมุนเวียนกันไป เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการในการจัดเวทีวิจัยประกอบด้วย การรื้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สำราญ, สะรุโณ, สาริณีย์, จันทรัศมี, ปัทมา, พรหมสังคหะ, ไพเราะ, เทพทอง, มานิตย์, แสงทอง, ไพโรจน์, สุวรรณจินดา, นลินี, จาริกภากร
Format: Technical Report
Language:th_TH
Published: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15573
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:เวทีวิจัยสัญจร เป็น การจัดประชุมของนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อการพัฒนาการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ความคิด ความรู้ และประสบการณ์ในการทำการเกษตร โดยจัดประชุมที่บ้านเกษตรกรหมุนเวียนกันไป เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการในการจัดเวทีวิจัยประกอบด้วย การรื้อฟื้นประเพณีการนำของฝากจากเพื่อนบ้าน เรื่องเล่าจากเจ้าของบ้าน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ภูมิปัญญาการทำการเกษตรของเจ้าของบ้านและสมาชิก การสาธิตความรู้วิชาการใหม่ๆ การเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการเลี้ยงอาหารเที่ยงด้วยผลผลิตจากไร่นาเจ้าของบ้าน และการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมต่างๆ โดยกระบวนการเน้นการมีส่วนร่วมและการ แสดงออกของเกษตรกรกับเกษตรกร เกษตรกรกับนักวิจัยผลการดำเนินงาน พบว่า มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนพันธุ์พืช และถ่ายทอดภูมิปัญญาจากเกษตรกรสู่ เกษตรกร เช่น การปลูกผักกูด การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ การปรับปรุงดิน การวางแผนปลูกพืชผสมผสานการปลูกพืชสมุนไพร การปลูกพืชผัก ข้าวโพดหวาน เลี้ยงปลา การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช การใช้น้ำหมักเข้มข้นปรับปรุงดิน การสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกเป็นต้น แบบการปลูกพืชตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีการร่วมกันวิเคราะห์ ความเสี่ยง การลดต้นทุน การปลูกและการดูแลรักษา มีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมการใช้ชีวิตชุมชนชนบท เช่น ความเป็นเพื่อน พี่น้องหรือเพื่อนเกลอ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เช่นอาหาร พันธุ์พืชที่นำมาปลูก มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น การลงแรงช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้เพื่อนสมาชิก ได้เพิ่มทักษะความสามารถในการเป็นวิทยากร การฝึกการพูดในเวทีเพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงให้ความสนใจ และเข้ามาร่วมในเวทีวิจัย